in the future - u will be able to do some more stuff here,,,!! like pat catgirl- i mean um yeah... for now u can only see others's posts :c
ปัญหาสุขภาพจิตกำลังเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เริ่มถูกนำเสนอบนพื้นที่สื่อในระดับท้องถิ่นมากขึ้น ด้วยข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่า จำนวนผู้ป่วยจิตเวชทั่วประเทศไทยประจำปีงบประมาณ 2566 ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมทั้งสิ้น 4,603,186 คน
เมื่อเจาะลึกข้อมูลดังกล่าวลงไปอีกจะพบสถิติที่น่าสนใจว่า จำนวนผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนซึ่งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 1 สูงเป็นอันดับ 3 ของเขตสุขภาพทั้งหมด 13 เขต ซึ่งเป็นสถิติที่ทำให้ผู้เขียนต้องตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า ทำไมสถานการณ์สุขภาพจิตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนถึงเป็นเช่นนี้
ถ้าพูดถึงสถานการณ์ตามรายจังหวัดภาคเหนือในเขตสุขภาพที่ 1 ผู้เขียนในฐานะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ลำปาง จังหวัดภาคเหนือที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งความสุขตามสโลแกนเพื่อการท่องเที่ยว กลับมีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชสูงเป็นอันดับ 3 รองลงมาจากเชียงรายและเชียงใหม่ แม้จะเป็นข้อมูลที่อาจสร้างความกังวลใจให้กับสถานการณ์ทางสุขภาพจิตของจังหวัดลำปางได้ไม่น้อย แต่ถ้ามองในแง่การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพจิต ผู้เขียนสามารถวิเคราะห์ออกมาเป็นฉากทัศน์ (Scenario) ได้สองแบบคือ “จังหวัดลำปางมีจำนวนประชากรผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้น” กับ “ประชาชนในจังหวัดลำปางเข้าถึงระบบบริการสุขภาพจิตมากขึ้น” ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสัญญาณที่ดีและไม่ดีต่อสถานการณ์ทางสุขภาพจิตของจังหวัดลำปาง
อ่าน 'ลำปางขะไจ๋: ในวันที่ปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้อยู่ไกลตัว' โดย รัชชา สถิตทรงธรรม /Activist Journalist ต่อได้ที่ prachatham.com/2024/02/28/28022567-01/
#ปัญหาสุขภาพจิต
#ลำปางขะไจ๋
#lanner
#prachatham
#activistjournalist
0 - 0
อ่าน ‘นายูสมองไหลไปรามฯ’ การโบยบินอ(ยาก)จะกลับของแวรุงชายแดนใต้ ตอนที่ 1 prachatham.com/2024/02/22/22022024-01/
“ภาพฝัน”- “โอกาส” - “ภาพลวงตา” คือสามคำที่ฟิตรีนิยามชีวิตสิบปีที่รามคำแหง เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า “ภาพฝัน” หมายถึงชีวิตที่ฝันอยากอยู่ในสังคมที่เจริญและพัฒนา “โอกาส” หมายถึงชีวิตที่มีโอกาสในหลากหลายด้าน “ภาพลวงตา” หมายถึงหากชีวิตอยู่อย่างไม่มีสติ จะหลงระเริงไปกับภาพลวงตา จนลืมตัวเองและลืมบ้านเกิดได้”
ด้านอามีเนาะบอกว่า “ดีเกินคาด” คือคำนิยามชีวิตที่รามคำแหงของเธอ เพราะเป็นสถานที่หล่อหลอมให้เป็นคนที่ดีขึ้น ทำให้พบกับผู้คนและสภาพแวดล้อมที่ดี โดยเฉพาะกลุ่ม P.N.Y.S. มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เรามองเห็นปัญหาและคุณค่าของบ้านเกิดมากขึ้น จนอยากเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบ้านเกิด”
ฟิตรี กล่าวเสริมสิ่งที่ตัวเองได้จากสังคม P.N.Y.S. ใน ม.รามคำแหง ว่า “การทำกิจกรรมต่าง ๆ กับกลุ่มนี้ช่วยทำให้ผมเติบโตขึ้นทั้งเรื่องเรื่องความคิด ทัศนคิต อารมณ์เเละอีกหลากหลายด้าน
อ่าน ‘นายูสมองไหลไปรามฯ’ การโบยบินอ(ยาก)จะกลับของแวรุงชายแดนใต้ ตอนที่ 2
prachatham.com/2024/02/23/23022024-01/
#นายูสมองไหล
#มุสลิม
#activistjournalist
#prachatham
#lanner
0 - 0
ชายหนุ่มพูดภาษามลายู หญิงคลุมฮิญาบ เดินกวักไกวไปมาสองข้างถนนในซอยรามคำแหง 53 ตัดสลับกับภาพร้านรวงที่ตั้งโต๊ะขายข้าวยำ ขนมจือปุ ขนมเจะเเมะ และรถมอเตอร์ไซค์จอแจสวมป้ายทะเบียนปัตตานี ยะลา หรือนราธิวาส เหล่านี้คือภาพฉากที่สามารถพบเจอได้เป็นปกติทุกครั้งที่เดินทางผ่านไปย่านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง สะท้อนตัวตนของพื้นที่แห่งนี้ที่แม้ไม่ต้องป้องปากตะโกนบอกก็รู้ว่าต่างไปจากพื้นที่อื่น ๆ ของกรุงเทพฯ อยู่มาก
การก่อตัวของ ‘ชุมชนมลายู’ กลางเมืองกรุงเทพฯ แน่นอนว่าคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะนี่คือผลของปรากฏการณ์หนีทุ่งมุ่งเมืองของเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเรียกให้ชัดว่านี่คือผลจาก ‘ภาวะแวรุงนายูสมองไหล’ ที่ตัดสินใจพรากจาก ‘ตาเนาะห์อุมมี’ หรือบ้านเกิดเมืองนอน มาสู่มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ออกแบบชีวิตการเรียน ทำกิจกรรม หรือทำงานได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง
อะไรเป็นเหตุผลให้คนหนุ่มสาวจากสามจังหวัดชายแดนใต้ทิ้งบ้านเกิดมาเป็น ‘ชาวรามเมี่ยน’ คุณภาพชีวิตในดินแดนแห่งใหม่เป็นอย่างไรบ้าง และพวกเขาเคยคิดอยากกลับบ้านหรือตัดสินใจลงหลักปักฐานดำเนินชีวิตที่นี่ต่อไปมากกว่า ชวนหาคำตอบผ่านบทสนทนาในร้านกาแฟหอมกรุ่น กับ ฟิตรี อารง และ อามีเนาะ เจ๊ะลีมา สองคนหนุ่มสาวที่เรียนและทำงานแถวรามเกือบ 10 ปีเต็ม พร้อมกะเทาะเปลือกปัญหาเเละส่องสำรวจเเนวทางเพื่อโอบรับนายูพลัดถิ่นกลับบ้านกับ เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ่าน ‘นายูสมองไหลไปรามฯ’ การโบยบินอ (ยาก) จะกลับของแวรุงชายแดนใต้ ตอนที่ 1 โดย อติรุจ ดือเระ, ฮาฟีซีน นะดารานิง และกูอิลยัส สุดทองคง /Activist Journalist ได้ที่ prachatham.com/2024/02/22/22022024-01/
#นายูสมองไหล
#มุสลิม
#activistjournalist
#prachatham
#lanner
0 - 0
เมืองท่าขี้เหล็ก เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในบริเวณชายแดนของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา อยู่กับติดกับบริเวณพื้นที่ชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การข้ามแดนจะข้ามที่ด่านอำเภอแม่สาย โดยมีสะพานที่ข้าม “แม่น้ำสาย” ที่กั้นระหว่างสองประเทศ ในจุดแบ่งเขตพรมแดน คือ ประตูกลางสะพาน สิ่งแรกที่สามารถเห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มคนในพื้นที่ชายแดนแห่งนี้ ในระหว่างทางข้ามแดนสังเกตได้ว่าป้ายโฆษณาโรงแรมทั้งสองข้างทาง ในป้ายโฆษณานั้นจะมีทั้งภาษาเมียนมาและภาษาอังกฤษ เมื่อข้ามมาถึงฝั่งจุดตรวจคนเข้าเมืองเมียนมา จะเห็นได้ชัดว่ามีรถจำนวนมากที่รอตรวจผ่านข้ามแดนทั้งขาเข้า และขาออก รวมไปถึงผู้คนที่เดินข้ามฝั่งกันไปมา ทั้งการข้ามมาซื้อขายสินค้าและข้ามมาของกลุ่มคนฝั่งไทยที่ข้ามมาทำงาน
การข้ามแดนมาซื้อขายสินค้าฝั่งนี้ และเป็นจุดแวะสำคัญของนักท่องเที่ยว คือ “ตลาดท่าล้อ” ที่ติดกับด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าขี้เหล็ก ซึ่งเป็นตลาดที่รวบรวมสินค้าหลากหลายชนิดและเป็นแหล่งการค้าทั้งขายปลีก-ขายส่ง สินค้าบางชนิดจะเหมือนกับสินค้าฝั่งไทย เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา เครื่องประดับ น้ำหอม และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่นอกเหนือจากสินค้าที่ถูกกฎหมาย สินค้าบางชนิดที่เป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายและไม่อนุญาตให้มีการวางจำหน่ายสินค้าในฝั่งไทยนั้น ในฝั่งท่าขี้เหล็กนั้นถือเป็นสินค้าที่วางขายกันอย่างปกติและไม่ผิดกฎหมาย เช่น ยาปลุกเซกส์ เซกส์ทอย บุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์การพนันต่างๆ อีกทั้งมีผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นแม่ค้าในท่าขี้เหล็กให้ข้อมูลว่าจุดนี้ยังเป็นเขตแบ่งฝั่งของคนในท่าขี้เหล็กอีกด้วย “ในจุดนี้จะแบ่งกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ คนกลุ่มเก่า ได้แก่ คนไทใหญ่ กลุ่มชาติพันธุ์ และคนเนปาล ส่วนคนกลุ่มใหม่ คือ คนจีน ที่พึ่งเข้ามา ในยุคแรกของตลาดนี้จะเป็นคนป๊งทุ่น ซึ่งเป็นชาวอิสลามเข้ามาทำงาน ค่าที่แต่ละแผงตอนนี้ 60,000-70,000 บาท ต่อเดือน ใครจ่ายค่าเช่าแผงไม่ไหวก็จะใส่ตะกร้าขายข้างทางเอา”
รับชม 'ภาพเล่าเรื่อง: ท่าขี้เหล็ก เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป' โดย กฤติมา หริ่มยิ่ง และ SAI SAR AUNG /Activist Journalist ได้ที่ prachatham.com/2024/02/20/photoessay20022567/
#เมืองท่าขี้เหล็ก
#photoessay
#lanner
#prachatham
#activistjournalist
0 - 0
เมืองชายแดนท่าขี้เหล็ก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดกำเนิดเกิดขึ้นจากการอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายกลุ่ม นับตั้งแต่ขยายอำนาจของบรรดาเจ้านครรัฐในยุคก่อนอาณานิคม จนถึงยุคของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงในยุคของสงครามกลางเมืองในประเทศจีน ด้วยเหตุที่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ชายแดนที่มีการอพยพไปมาของผู้คน ทำให้ประชากรของเมืองทั้งสองฟากฝั่งนั้นล้วนเป็นผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวไทย (คนเมือง) ไท อาข่า ไทใหญ่ พม่า ว้า และจีน
นอกเหนือจากสาเหตุจากสงครามและความไม่สงบทั้งในจีนและเมียนมาแล้ว อีกสาเหตุนั้นมาจากการพัฒนาเมืองชายแดนจากความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจนเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในแถบภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ได้กลายเป็นเงื่อนไขให้เกิดการอพยพโยกย้ายชาวไทลื้อจากเมืองยองเข้ามาตั้งรกรากหรือหางานทำในเมืองชายแดนท่าขี้เหล็กเพิ่มจำนวนมากขึ้น
อ่าน 'ท่าขี้เหล็ก เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป' โดย กฤติมา หริ่มยิ่ง และ SAI SAR AUNG /Activist Journalist ต่อได้ที่ prachatham.com/2024/02/18/18022567-01/
#ท่าขี้เหล็ก
#เมืองท่าขี้เหล็ก
#พื้นที่ชายแดน
#activistjournalist
#prachatham
#lanner
0 - 0
พื้นที่ เวลา และความแปรเปลี่ยน
✏️ มองมลายูผ่านเสื้อผ้า ความแตกต่างไม่ใช่ปัญหา
งานเขียนชิ้นนี้ เป็นผลงานของนักศึกษาชาวมลายูจากสามจังหวัดใต้ที่ต้องการสะท้อนความเป็นมลายูผ่านเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายของชาวมลายู มีคำถามว่าทำไมคนมลายูจึงนิยมใส่ชุดมลายูเพราะอะไร และได้ติดตามความคิดเห็นของคนหลากหลายกลุ่มทั้งคนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการ นักวิชาการอิสระ ต่อเรื่องนี้ มีความน่าสนใจที่ลึกไปกว่าการเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่เป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันของสังคม และการเคารพความหลากลาย
✏️ ท่าขี้เหล็ก เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
กฤติมา หริ่มยิ่ง และ SAI SAR AUNG ชวนไปสำรวจบริบทพื้นที่เปลี่ยนในท่าขี้เหล็กที่มีความหลากหลายของผู้คน นำไปสู่เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้เมืองชายแดนแห่งนี้เป็นที่สนใจของนักธุรกิจต่างชาติรายใหญ่มากขึ้น นักธุรกิจก็เริ่มเข้ามาลงทุนในการก่อสร้าง ตึกสูง อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม และบ้านจัดสรรมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจีน ที่ล้วนมีความต้องการเข้ามากว้านซื้อที่ดินเพื่อทำธุรกิจต่าง ๆ
✏️ ‘นายูสมองไหลไปรามฯ’ การโบยบิน อ(ยาก) จะกลับของแวรุงชายแดนใต้
การก่อตัวของ ‘ชุมชนมลายู’ กลางเมืองกรุงเทพฯ แน่นอนว่าคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะนี่คือผลของปรากฏการณ์หนีทุ่งมุ่งเมืองของเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเรียกให้ชัดว่านี่คือผลจาก ‘ภาวะแวรุงนายูสมองไหล’ ที่ตัดสินใจพรากจาก ‘ตาเนาะห์อุมมี’ หรือบ้านเกิดเมืองนอน มาสู่มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ออกแบบชีวิตการเรียน ทำกิจกรรม หรือทำงานได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง
อติรุจ ดือเระ, ฮาฟีซีน นะดารานิง และ กูอิลยัส สุดทองคง พาเดินทางไปพบกับชุมชนมลายูในซอยรามคำแหง 53 สถานที่ที่ไม่ต่างจากชายแดนใต้ ในภาวะสมองไหล พร้อมกับการค้นหาคำตอบของ บ้านที่ไม่ได้กลับ ที่อยากกลับ และฝันที่อยากทำ ของหลายชีวิต
#พื้นที่เวลาและความแปรเปลี่ยน
#activistjournalist
#lanner
#สื่อประชาธรรม
0 - 0
“มันจะมีคำนึงเว่ยถ้าหากว่าเราสังเกตในโซเชียล ‘บ้านเฮามันกะซำบ้านเฮาล่ะ’ อะไรแค่นั้นน่ะ ประโยคนี้มันเหมือน Propaganda (โฆษณาชวนเชื่อ) ที่บีบเราไว้ กดเราไว้ว่าอีสานหรือว่าบ้านเราเนี่ย อย่าไปอะไรมากมาย ซึ่งพี่แบบ เชี่ย! ไม่ใช่ บ้านเฮามันต้องบ่แม่นซั่มบ้านเฮา!”
เสียงบ่นของบ่าวหน้ามนคนขอนแก่น ประสานกับเสียงเอื้อนของอ้ายมนต์แคน แก่นคูนซึ่งดังมาจากลำโพงโรงลาบอีสาน ร้านที่เรานั่งเปิบข้าวอยู่ “อภิเดช วงสีสังข์” (บิ๊ก) วัย 30 กรุบ จากบ้านเข้ากรุงไปทำงาน ทิ้งเงินหลักแสนกลับขอนแก่น ปั้นแบรนด์ไวน์ด้วยเงินเก็บทั้งหมดที่มี เพราะอยากปฏิวัติการทำกินในพื้นที่ด้วยไวน์-หม่อน-เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในบ้านเกิด เผชิญสายตาจากคนข้างนอกที่มองเข้ามาว่า อิหยังของมึงวะ เรียนจบสูงเป็นวิศวกรโก้ ๆ ในกรุงได้เงินเป็นกอบกำมันก็ดีอยู่แล้ว หรือรอเป็นเศรษฐีถูกหวยรางวัลที่หนึ่งค่อยเมียบ้านมาเฮ็ดกินแบบนี้ดีกว่าเว้ย!
“แถวบ้านเราไม่เคยพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงอะไรเลย แค่เพิ่มเสาไฟ ถนนลาดยางแค่นั้นแหละ แต่ผู้คนยังเหมือนเดิม มันจะดีขึ้นกว่านี้ได้จุดเริ่มต้นมันต้องเริ่มจากความเชื่อก่อน เรากลับมาบ้าน เราไม่ได้กลับมาทำให้มันเป็นเหมือนเดิม แต่กลับมาด้วยความเชื่อที่ว่าเราอยากเปลี่ยนให้มันเป็นชุมชนที่ดีขึ้นกว่านี้ผ่านตัวไวน์และลูกหม่อน ทำให้มันเป็นตัวชูโรงพื้นที่ของเรา”
อีสาน ภูมิภาคที่ใหญ่คนเยอะที่สุดในไทย และใช่, ยังคงเป็นภาคที่มีรายได้ต่ำสุดในประเทศตลอดกาล! วัดจาก“ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว (GRP per capita)” หรือ “ค่าเฉลี่ยต่อหัว” ตัวเลขอันแสดงถึงความสามารถในการสร้างมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายของภาคต่อประชากร 1 คน ยิ่งค่าเฉลี่ยสูง ศักยภาพการสร้างรายได้ยิ่งมาก
อ่าน เพราะ พ.ร.บ.สุรา มาตรา 32 ฉันจึงนอนพะงาบ, หม่อน มากกว่าอาหารไหม, ไวน์ มากกว่าของแพง, ขอนแก่น มากกว่า GPP อันดับที่ 33! โดย อธินันท์ อรรคคำ /Activist Journalist ได้ที่ prachatham.com/2024/02/15/15022567-01/
#ไวน์หม่อน
#คนรุ่นใหม่กลับบ้าน
#ไวน์ขอนแก่น
#activistjournalist
#lanner
#สื่อประชาธรรม
0 - 0
ข้าพเจ้าไม่รู้จะเกริ่นนำเริ่มบทความชิ้นนี้อย่างไร
ขอเริ่มจากปี พ.ศ. 2553 ผู้เขียนเดินทางจากจังหวัดกาฬสินธุ์เมืองดินดำ มาอาศัยศึกษาต่อที่จังหวัดขอนแก่นเมืองแห่งดอกคูณและเสียงแคน เป็นห้วงเดียวกันกับที่ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้กลายเป็นผู้กำกับไทยคนแรกที่คว้ารางวัลสูงสุด ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ทิวทัศน์ของขอนแก่นในเวลานั้นเต็มไปด้วยภาพของอภิชาติพงศ์ที่ถูกติดอยู่ทั่วเมือง พร้อมข้อความแสดงความยินดี และยกให้เป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งจังหวัด กล่าวได้ว่าช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ผู้กำกับผู้นี้ถูกยกให้เป็นบุคคลสำคัญประจำเมือง
การที่ผู้เขียนต้องนั่งรถประจำทางสาย ขอนแก่น-มุกดาหาร ไปกลับระหว่างบ้านกับมหาวิทยาลัยอยู่บ่อย ๆ ก่อนรถจะเข้าเทียบจอดที่บขส. ต้องเคลื่อนผ่านสวนรัชดานุสรณ์ที่อยู่ติดกัน ทำให้สังเกตเห็นอนุสาวรีย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางความรกของแมกไม้ ในสวนสาธารณะที่ขาดการบำรุงดูแล
เกิดความสงสัยว่าทำไมขอนแก่นจึงเลือกจะยกย่องจอมพลผู้นี้ ผู้ซึ่งหลังจากเสียชีวิตพบว่ามีทรัพย์สมบัติมูลค่าหลายพันล้านบาทที่ได้มาจากการฉ้อราษฎร์ ระหว่างมีชีวิตก็มีอนุภรรยามากกว่าร้อยคน และเป็นเผด็จการที่โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติ ให้ขึ้นมาเป็นบุคคลสำคัญประจำเมือง จนมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นกลางเมืองเพื่อระลึกถึง มากกว่าจะเป็น ผู้กำกับระดับโลก นักมวยเหรียญทองโอลิมปิก (ซึ่งมีการถูกกล่าวถึงในคำขวัญจังหวัด) หรือนักเทนนิสมือวางอันดับ TOP 10 ของโลก
ด้วยการที่ต่อมาผู้เขียนได้ดำรงสัมมาอาชีพเป็นนักข่าว จึงโอกาสได้สัมภาษณ์ อาจารย์จำนงค์ กิติสกล ข้าราชครูเกษียณ เพื่อขุดค้นถึงช่วงเวลานึงของชีวิตอาจารย์ ที่ได้มีส่วนเล็ก ๆในการช่วยปั้นจอมพลผู้นี้ ให้ขึ้นมาเป็นบุคคลสำคัญประจำเมือง เป็นประวัติศาสตร์อีกชุดที่หาอ่านจากแหล่งอื่นไม่ได้ ประกอบกับข้อมูลอื่น ๆ ที่หาอ่านได้ทั่วไปจากออนไลน์ และในเล่มหนังสือ ผู้เขียนหวังว่าบทความชิ้นนี้ จะมีประโยชน์ต่อการเสียเวลาเข้ามาอ่านไม่มากก็น้อย
อ่าน ‘สฤษดิ์ผมช่วยปั้นมากับมือ’ การเข้ามาเป็นบุคคลสำคัญของ จอมพล ในเมืองขอนแก่น โดย สมานฉันท์ พุทธจักร ได้ที่ prachatham.com/2024/02/11/12022567/
#สฤษดิ์ธนะรัชต์
#activistjournalist
#สื่อประชาธรรม
#lanner
0 - 0
“เราเป็นคนเชียงดาว เราอยากทำอะไรบ้างอย่างให้เกิดขึ้นในอำเภอเชียงดาว ที่ไม่ใช่แค่เทศกาลเพื่อความสนุกเฮฮาและความต้องการ แต่มันน่าจะมีเทศกาลอื่นๆ สำหรับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ บ้าง ซึ่งเราอยู่เชียงดาวตั้งแต่เกิด เราก็คิดว่าพื้นที่มันพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้หรือจัดเทศกาลที่จะทำให้เห็นภาพใหม่ ๆ ภาพลักษณ์อื่น ๆ ที่เป็นไปได้ของเชียงดาว”
เวลาย้อนมองมาที่บ้าน ที่นี่ ‘เชียงดาว’ ถิ่นเกิดที่วันนี้ฮิตติดลมบนในสายตานักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ ด้วยบรรยากาศที่ดี สงบ ผู้คนเป็นกันเอง บวกเข้ากับธรรมชาติที่ห้อมล้อมเชียงดาวเอาไว้ พร้อมกับดอยหลวงเชียงดาวที่ยึดโยงหัวใจของคนเชียงดาว และผูกหัวใจของนักท่องเที่ยวเอาไว้ให้ยากที่จะลืมไปว่าครั้งหนึ่งเราเคยมาเยือนที่นี่
แต่นอกจากแค่สถานที่ท่องเที่ยวแล้ว เชียงดาวยังมีความพยายามเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่ของคนในเชียงดาวที่อยากสร้างสรรค์การเรียนรู้ของตัวเอง เพื่อดึงศักยภาพของคนในเชียงดาวออกมา รวมไปถึงการขยายพื้นที่เรียนรู้ให้กับเยาวชนในพื้นที่อีกด้วย เลยเกิดเป็นกิจกรรม “ตุลามาแอ่ว” เทศกาลเชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้ฤดูหนาว ที่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปีที่ผ่านมา (2566)
อ่าน “เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้” เพราะท้องถิ่นลุกขึ้นมาจัดการเรียนรู้เองได้ โดย สุวรรณ ยาจิง, ณัฐกร อิจิโร่ กีโต้, ภาคภูมิ ชัยรังษี และสิรพัชญ์ ภักดี /Youth Teller ได้ที่ prachatham.com/2024/02/09/09022567/
#เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้
#ตุลามาแอ่ว
#Youthteller
#lanner
#สื่อประชาธรรม
2 - 0
ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2567 เป็นต้นมา ผู้เขียนมีโอกาสไปร่วมงานกิจกรรมสำคัญในเมืองลำปางหลายแห่ง รวมถึงการใช้ช่วงเวลาเย็นของสุดสัปดาห์ไปกับการเดินถนนคนเดินกาดกองต้าและถนนสายวัฒนธรรมย่านชุมชนท่ามะโอ ได้พบความแปลกใหม่อย่างหนึ่งคือมีกลุ่มคนราว 40-60% ของจำนวนผู้มาเที่ยวชมงาน สวมชุดพื้นเมืองโทนสีแดงอมชมพูคล้ายโทนสีของเค้ก Red Velvet ที่วางขายตามร้านคาเฟ่หรือเบเกอรีต่าง ๆ
“สีแบบนี้เรียกว่าสีครั่ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโครงการวิจัยของ อว. (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง และสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมใหม่ให้ลำปางเป็นเมืองหลวงแห่งผ้าครั่ง โดยมีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปางเป็นแม่งาน” แม่สมพร ใจคำ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มฮอมฮักผ้าทอทุ่งฮี อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง หนึ่งในผู้ออกบูธแสดงสินค้าตามงานกิจกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดลำปาง ได้อธิบายต่อผู้เขียนที่กำลังสงสัยในความแปลกใหม่ดังกล่าว
ผู้เขียนจึงได้กลับไปสืบค้นที่มาที่ไปของผ้าสีย้อมครั่งลำปาง อภิชัย สัชฌะไชย ผู้ประกอบการโรงงานครั่งนอร์ทเทอร์นสยามซีดแล็คในจังหวัดลำปาง เคยให้สัมภาษณ์ต่อรายการ ที่นี่บ้านเรา ตอน ลำปาง “ครั่ง” รักษ์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกี่ยวกับภาพรวมของครั่งในจังหวัดลำปางว่า ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดลำปางเพาะเลี้ยงครั่งมาเป็นเวลานานกว่า 20 – 30 ปีแล้ว แต่เพิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นจนเกิดเป็นการเพาะเลี้ยงเชิงเกษตรเมื่อ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ ในหลายพื้นที่มีราคาตกต่ำและให้ปริมาณไม่เพียงพอที่จะส่งออกตามท้องตลาดได้
อ่าน "ลำปาง ครั่ง รักษ์: อัตลักษณ์ใหม่ ทำอย่างไรให้ทุกคนเข้าถึงและจับต้องได้" โดย รัชชา สถิตทรงธรรม /Activist Journalist ได้ที่ prachatham.com/2024/02/08/08022567-01/
#ลำปางครั่งรักษ์
#สีครั่ง
#ลําปาง
#activistjournalist
#lanner
#สื่อประชาธรรม
1 - 0
มูลนิธิสื่อประชาธรรม
Prachatham Media Foundation