in the future - u will be able to do some more stuff here,,,!! like pat catgirl- i mean um yeah... for now u can only see others's posts :c
#ข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมด้วยอาร์ก
เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ในชีวิต การเชื่อมด้วยไฟฟ้าก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สรุปได้ดังนี้:
#ข้อดี
1.ทนแรงกระแทกได้ดี
2.อัตราการผลิตสูง (ลดต้นทุนต่อหน่วยเชื่อม)
3.เชื่อมได้แข็งแรง ไร้รอยต่อ ไม่มีช่องว่างอากาศ
4.เรียนรู้และใช้งานง่าย
5.อุปกรณ์พกพาจัดเก็บง่าย
6.ใช้งานได้หลากหลาย ใช้ได้กับโลหะหลายประเภท
7.ซื้อได้
8.เชื่อมได้คุณภาพสูง แข็งแรง
9.สามารถเข้าถึงได้ (ไม่ต้องมีใบอนุญาตหรือการฝึกอบรมพิเศษ)
#ข้อเสีย
1.ควันพิษต้องได้รับการระบายอากาศหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
2.มีของเสียมากกว่ากระบวนการอื่น
3.ต้องฝึกฝนเพื่อให้มีทักษะระดับสูง
4.เผาผ่านวัสดุบางๆ
9 - 0
#การเชื่อมด้วยอาร์กคืออะไร?
การเชื่อมด้วยอาร์กเป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อมโลหะเข้ากับโลหะโดยใช้ไฟฟ้าเพื่อสร้างความร้อนให้เพียงพอที่จะหลอมโลหะได้ และเมื่อโลหะหลอมละลายเย็นตัวลง โลหะก็จะติดกัน
เป็นการเชื่อมประเภทหนึ่งที่ใช้แหล่งจ่ายไฟเชื่อมเพื่อสร้างอาร์กระหว่างแท่งโลหะ (“อิเล็กโทรด”) กับวัสดุฐานเพื่อหลอมโลหะที่จุดสัมผัส เครื่องเชื่อมอาร์กสามารถใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) หรือไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และอิเล็กโทรดแบบสิ้นเปลืองหรือไม่สิ้นเปลืองก็ได้
พื้นที่เชื่อมโดยทั่วไปจะได้รับการปกป้องด้วยก๊าซป้องกัน ไอระเหย หรือตะกรันบางประเภท กระบวนการเชื่อมด้วยอาร์กอาจใช้แบบแมนนวล กึ่งอัตโนมัติ หรืออัตโนมัติเต็มรูปแบบก็ได้
การเชื่อมด้วยอาร์กได้รับการพัฒนาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และมีความสำคัญทางการค้าในการต่อเรือในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบัน การเชื่อมด้วยอาร์กยังคงเป็นกระบวนการที่สำคัญในการผลิตโครงสร้างเหล็กและยานพาหนะ
6 - 0
#เคล็ดลับความปลอดภัยในการเชื่อมด้วยอาร์ก 13 ประการที่สำคัญที่สุด
ความปลอดภัยควรเป็นสิ่งแรกที่คุณคำนึงถึงเสมอ ก่อนที่คุณจะเริ่มการเชื่อมในรูปแบบใดๆ และการเชื่อมด้วยอาร์กก็ไม่มีข้อยกเว้น เราจะแนะนำเคล็ดลับความปลอดภัยในการเชื่อมด้วยอาร์ก 13 ข้อที่สำคัญที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการเชื่อมด้วยอาร์กของคุณ มาพูดถึงสิ่งที่ทำให้การเชื่อมด้วยอาร์กเป็นการเชื่อมด้วยอาร์กกันก่อน
#การเชื่อมด้วยอาร์กคืออะไร?
การเชื่อมด้วยไฟฟ้าเป็นกระบวนการเชื่อมโลหะสองชิ้นเข้าด้วยกันโดยใช้ไฟฟ้า เนื่องจากไฟฟ้าจะสร้างความร้อนจำนวนมาก จึงทำให้โลหะหลอมละลายและสามารถเชื่อมเข้าด้วยกันได้เมื่อเย็นตัวลง
การเชื่อมด้วยอาร์กโลหะแบบป้องกัน (SMAW) หรือการเชื่อมด้วยแท่งโลหะ กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อทำให้เกิดอาร์กระหว่างวัสดุฐานและแท่งอิเล็กโทรดที่ใช้แล้วหรือ "แท่งโลหะ"
#เคล็ดลับความปลอดภัยในการเชื่อมด้วยอาร์ก
#คำแนะนำด้านความปลอดภัยบางประการที่ควรคำนึงถึงในระหว่างกระบวนการเชื่อมนี้:
1.ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตเสมอ
2.โปรดทราบกฎหมายของรัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อม
3.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใช้เครื่องเชื่อมอาร์กที่ถูกต้อง โดยควรได้รับการรับรองการปิดผนึกจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเราอยู่ในสหรัฐอเมริกา องค์กรที่เหมาะสมคือสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าแห่งชาติ (NEMA)
4.คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องเชื่อมได้รับการติดตั้งอย่างถูกต้อง
5.อย่าใช้งานเครื่องเชื่อมมากเกินไป การใช้งานเครื่องเชื่อมมากเกินไปอาจทำให้เครื่องร้อนเกินไปจนทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟไหม้ได้ การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนทั้งหมดของเครื่องเชื่อมทำงานได้อย่างถูกต้องและไม่มีสายไฟชำรุดหรือขาด
6.ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้การเชื่อมด้วยอาร์กพลาสม่าก่อให้เกิดความร้อนจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่าต้องใช้แรงดันไฟฟ้าจำนวนมาก ดังนั้น คุณต้องแน่ใจว่าเต้ารับไฟฟ้าของคุณสามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าได้ในปริมาณดังกล่าว หากไม่ทำเช่นนี้ เครื่องจักรอาจขัดข้อง เกิดเพลิงไหม้ และเกิดปัญหาขึ้นกับรัฐตามกฎหมายที่กำหนด
7.การเชื่อมควรทำในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศที่ดีเสมอ วัสดุบางชนิดที่เชื่อมจะปล่อยควันพิษซึ่งไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อผู้เชื่อมเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายต่อคนรอบข้างด้วย ตัวอย่างของวัสดุดังกล่าว ได้แก่ ฟลักซ์แท่งโลหะและวัสดุอื่นๆ ที่มีองค์ประกอบของสังกะสี แคดเมียม และปรอท นอกจากนี้ หากไม่มีการระบายอากาศที่เหมาะสม ผู้เชื่อมอาจล้มลงได้ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
8.พื้นที่ที่จะเชื่อมจะต้องทนไฟ วิธีแรกในการทำเช่นนี้คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการออกแบบของพื้นที่นั้น เช่น การพัฒนาเทคนิคการเชื่อมด้วยอาร์กและการตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นเป็นคอนกรีตเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดประกายไฟ และใช้ม่านทนไฟ หากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขอแนะนำให้ย้ายวัสดุที่ติดไฟได้ออกจากบริเวณที่จะเชื่อม
9.ห้ามให้อิเล็กโทรดเชื่อมพลาสม่าสัมผัสกับกระบอกสูบใดๆ เนื่องจากมีโอกาสระเบิดได้สูง ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระบอกสูบทั้งหมดได้รับการยึดอย่างแน่นหนาในตำแหน่งตั้งตรง
10.ผู้ที่ทำหน้าที่เชื่อมควรสวมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่เหมาะสมอยู่เสมอ
11.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่บริเวณพื้นที่ที่จะทำการเชื่อม
12.หากเครื่องเชื่อมเกิดเสียหาย ควรซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาหลังจากเครื่องยนต์หยุดทำงาน
13.เก็บแขนขา เสื้อผ้า และสิ่งของอื่นๆ ให้ห่างจากชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว
#รายการอุปกรณ์ความปลอดภัยในการเชื่อมที่แนะนำ:
1.ที่อุดหูหรือที่ครอบหูเมื่อเสียงดัง
2.รองเท้าบู๊ทหนังนิรภัย
3.ถุงมือหนัง.
4.แว่นตานิรภัยหรือหมวกเชื่อมที่มีแผ่นปิด ความทึบของแผ่นปิดถือเป็นสิ่งสำคัญและขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่จะเชื่อม
5.เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันกลิ่นน้ำหอมที่เป็นพิษ
6.ห้ามใช้งานเครื่องเชื่อมหากเสื้อผ้าของคุณเปียก
7.ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจไม่ควรทำการเชื่อม
ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้น แม้จะได้ ปฏิบัติตาม ข้อควรระวังและมาตรการป้องกันที่กล่าวไว้แล้วก็ตาม ควรมีชุดปฐมพยาบาล ผ้าห่มดับเพลิง ถังดับเพลิง และช่างเชื่อมหรือผู้คนในพื้นที่ทำงานทราบถึงขั้นตอนที่สามารถทำได้กับเหยื่อเพื่อช่วยชีวิตก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์
6 - 0
#การเชื่อมด้วยไฟฟ้า (Arc Welding)
#การเริ่มต้นอาร์ค
การเริ่มต้นฝึกหัดเชื่อมจะเริ่มต้นจากการอาร์คก่อน การอาร์ค คือ ระยะห่างระหว่างปลายลวดเชื่อมกับผิวโลหะงาน ซึ่งเป็นระยะพอดีที่จะทำให้การอาร์คเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การเริ่มต้นอาร์ค มี 2 วิธีคือวิธีการขีดและวิธีการเคาะ
วิธีการขีด เป็นการบังคับให้ลวดเชื่อมสัมผัสกับโลหะงานโดยการขีดออกข้าง ๆ จนเกิดการอาร์ค แล้วยกลวดเชื่อมขึ้นเล็กน้อยจนได้ระยะอาร์คที่ต้องการคือประมาณ 1/8 นิ้ว
วิธีการเคาะ เป็นการบังคับให้ลวดเชื่อมกระแทรกลงไปในแนวดิ่งจนสัมผัสกับโลหะงานแล้วยกขึ้น-ลง จนเกิดการอาร์ค ตามที่ต้องการ
#ตำแหน่งท่าเชื่อมไฟฟ้า
ในการเชื่อมไฟฟ้าจะมีท่าเชื่อมในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
#1. การเชื่อมต่อเกยในท่าราบ. การเชื่อมต่อเกยท่าราบเป็นแบบของรอยต่อที่นิยมใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม ด้านต่าง ๆ จัดเป็นรอยต่อที่ประหยัด ไม่เสียเวลาในการเตรียมงาน รอยต่อเกยจะมีความแข็งแรงสูงสุดเมื่อเชื่อมรอยต่อทั้งสองด้าน ในการเชื่อมจะต้องไม่ใช้กระแสไฟสูงเกินไป มุมของลวดเชื่อมในขณะเชื่อมประมาณ 45 – 60 องศา การเคลื่อนไหวลวดเชื่อมจะเป็นลักษณะเดินหน้า ถอยหลัง ไปตามแนวเชื่อม การเคลื่อนไหวลวดเชื่อมเช่นนี้จะเป็นการอุ่นโลหะงานให้ร้อนล่วงหน้าก่อนที่จะเชื่อมไปถึง ซึ่งจะทำให้รอยเชื่อมนูนสมบูรณ์ และป้องกันไม่ให้สแลคหลอมเหลวไหลล้ำหน้ารอยเชื่อม
#2. การเชื่อมรอยต่อชนท่าราบ รอยต่อชนท่าราบเป็นรอยต่อที่ใช้กันมากสำหรับการต่อโลหะงานทั่วไป โลหะงานซึ่งหนาเกิน ¼ นิ้ว เมื่อทำการเชื่อมรอยต่อทั้งสองด้านแล้วจะเป็นรอยต่อที่มีประสิทธิภาพสูงมาก การที่จะให้รอยเชื่อมมีความแข็งแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของการซึมลึกของรอยเชื่อม ขนาดของการซึมลึกจะขึ้นอยู่กับขนาดของลวดเชื่อมและกระแสที่ใช้ในการเชื่อม สาหรับงานที่มีความหนา 3/16 นิ้ว เมื่อเชื่อมรอยต่อเพียงด้านเดียว รอยต่อจะเว้นระยะไว้เสมอ การเชื่อมรอยต่อชนท่าราบจะต้องปรับกระแสให้เหมาะกับลวดเชื่อม ขณะเชื่อมลวดเชื่อมจะต้องเอียงไปข้างหน้า 10 – 20 องศาตามทิศทางที่ลวดเชื่อมเคลื่อนที่ไป
#3. การเชื่อมรอยต่อรูปตัวทีในท่าราบ การเชื่อมรอยต่อชนรูปตัวที จะต้องปรับกระแสไฟให้สูงพอที่จะทำให้โลหะหลอมเหลวจนไหลได้ง่าย เพื่อทำให้เกิดการซึมลึกลงไปจนถึงส่วนล่างสุดของรอยต่อ การบังคับลวดเชื่อมไปยังมุมของรอยต่อ ต้องชี้อยู่บนโลหะแผ่นตั้งมากกว่าแผ่นนอน พร้อมกับเอียงลวดเชื่อมไปข้างหน้าประมาณ 30 – 40 องศา พยายามเคลื่อนลวดเชื่อมด้วยความเร็วสม่ำเสมอ และมีการเดินหน้าถอยหลังในระยะสั้น เพื่อเป็นการอุ่นงานส่วนล่างสุดของรอยต่อ และยังป้องกันสแลคหลอมเหลวล้าหน้ารอยเชื่อม
#4. การเชื่อมในท่าขนานนอน การเชื่อมรอยต่อแบบต่าง ๆ ในท่าขนานนอน การบังคับลวดเชื่อม จะต้องบังคับให้ลวดเชื่อมชี้ขึ้นเป็นมุม 20 องศา
เพื่อใช้แรงผลักดันจากการอาร์ค ช่วยพยุงให้โลหะที่หลอมเหลวในแอ่งไหลลงมาไหลย้อนขึ้นไปกับรอยเชื่อม นอกจากนี้จะต้องเอียงลวดเชื่อมเป็นมุม 20 องศาในทิศทางการเคลื่อนที่ของลวดเชื่อมด้วย เช่นเดียวกับการเชื่อมในท่าราบ
#5. การเชื่อมในท่าตั้ง การฝึกหัดท่าเชื่อมลักษณะนี้แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ #การเชื่อมขึ้น (Up Hill). และ. #การเชื่อมลง (Down Hill)
#การเชื่อมขึ้น. มีเทคนิคที่สาคัญ คือการบังคับให้ลวดเชื่อมตั้งฉากกับพื้นผิวโลหะงานและการเอียงลวดเชื่อมทำมุมชี้ขึ้นไม่เกิน 10 องศา การปรับกระแสควรปรับให้มีกระแสค่อนข้างสูงเสมอ ขณะทาการเชื่อมควรเคลื่อนไหวลวดเชื่อมเป็นแบบยกขึ้น แล้วลดต่าลงมาที่แอ่งโลหะหลอมเหลวเป็นระยะประมาณ 2 นิ้วแต่ระวังอย่าให้การอาร์คดับ
#การเชื่อมลง จะต้องปรับกระแสให้เพิ่มขึ้น เอียงลวดเชื่อมทำมุมชี้ขึ้นประมาณ 15 – 20 องศา และบังคับลวดเชื่อมให้ตั้งฉากกับผิวหน้าของโลหะงาน ขณะเชื่อมควรใช้ระยะอาร์คสั้น ๆ เพราะตามปกติแล้วสแลค จะละลายไหลล้าหน้ารอยเชื่อม เมื่อเห็นว่าสแลค ไหลพยายามลดระยะอาร์คให้สั้นลง พร้อมกับเพิ่มความเร็วให้มากขึ้น ถ้าไม่ได้ผลให้เคาะสแลคออกทำความสะอาด แล้วเริ่มเชื่อมต่อไป
#6. ท่าเชื่อมเหนือศีรษะ เป็นท่าเชื่อมที่ปฏิบัติยากที่สุด และเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติมากที่สุดถ้าหากสวมชุดปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง ที่สาคัญสำหรับการเชื่อมท่าเหนือศีรษะคือ การปรับขนาดของกระแสไฟต้องให้สูงไว้ และใช้ระยะอาร์คสั้น ๆ บังคับให้ลวดเชื่อมตั้งฉากกับพื้นผิวโลหะงาน และทำมุมเอียงประมาณไม่เกิน 10 องศา ตามทิศทางการที่ลวดเชื่อมเคลื่อนที่ไป การเคลื่อนที่ลวดเชื่อมจะเป็นลักษณะเดินหน้าถอยหลัง หรือเคลื่อนไหวลวดเชื่อมแบบส่าย
#7. แบบของรอยต่อเชื่อม แบบของรอยต่อเชื่อมต่าง ๆ สามารถแยกออกได้ตามพื้นฐานของรอยต่อเชื่อมเบื้องต้นสาหรับผู้ฝึกปฏิบัติงานใหม่ ได้ดังนี้
แบบรอยต่อชน (Butt Joint)
แบบรอยต่อเกย (Lap Joint)
แบบรอยต่อมุม (Corner Joint)
แบบรอยต่อตัวที (T – Joint)
แบบรอยต่อขอบ (Edge Joint)
4 - 0
#การเชื่อมแก๊ส (Gas welding)
การเชื่อมแก๊ส หมายถึงขบวนการที่ทำให้โลหะประสานกัน โดยการให้ความร้อนกับโลหะงานจนถึงอุณหภูมิที่โลหะชนิดนั้นหลอมละลาย โลหะเมื่อหลอมละลายจะรวมตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน การเชื่อมแก๊สเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
การเชื่อมมักจะใช้เปลวไฟที่เกิดจากการสันดาประหว่างแก๊สเชื้อเพลิงกับอากาศ การสันดาประหว่างแก๊สเชื้อเพลิงกับอากาศแยกออกเป็นแบบต่างๆ ได้ 3 แบบคือ
1. การสันดาปของแก๊สเชื้อเพลิงกับออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศโดยตรง เช่น การสันดาปของเทียนไข หรือตะเกียงแก๊สที่แม่ค้าใช้ขายของตอนกลางคืนการสันดาปชนิดนี้จะมีผลดังนี้
1.1 เปลวไฟที่ได้จากการสันดาปมีอุณหภูมิต่ำ
1.2 เปลวไฟมีความสะอาดน้อยมาก
1.3 ให้ปริมาณความร้อนต่ำ
2. การสันดาปของแก๊สเชื้อเพลิงในบรรยากาศผ่านรูดูดอากาศของหัวเผา ตัวอย่างของการสันดาปลักษณะนี้ได้แก่ ตะเกียงบุนเสน (Bunsen) การสันดาปลักษณะนี้จะมีผลดังนี้
2.1 เปลวไฟที่ได้จากการสันดาปมีอุณหภูมิสูงกว่าแบบแรก
2.2 เปลวไฟมีความสะอาดมากกว่าแบบแรก
2.3 ให้ปริมาณความร้อนมากกว่าแบบแรก
3. การสันดาปของแก๊สเชื้อเพลิงกับออกซิเจนที่นามาจากแหล่งที่มีความดัน โดยผสมกันก่อนการสันดาป เช่นการสันดาปของหัวเชื่อมแก๊ส การสันดาปลักษณะนี้จะมีผลดังนี้
3.1 เปลวไฟที่ได้จากการสันดาปมีอุณหภูมิสูงสุด
3.2 เปลวไฟมีความสะอาดมากที่สุด
3.3 ให้ปริมาณความร้อนมากที่สุด
#การจุดเปลวไฟเชื่อมและการดับเปลวไฟแก๊ส
ก่อนจุดเปลวไฟเชื่อมทุกครั้งต้องตรวจดูอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย โดยเริ่มจากเครื่องกำเนิดแก๊ส หรือขวดบรรจุแก๊สว่ามีรอยรั่วหรือไม่ เครื่องบังคับแก๊ส ลิ้นนิรภัย เกจวัดความดัน และอุปกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งสายเชื่อม หัวเชื่อม ที่สาคัญคืออุปกรณ์ป้องกันไฟกลับต้องมีน้ำบรรจุเต็มตามระดับที่กำหนดเมื่อตรวจอุปกรณ์ทุกอย่างเรียบร้อย ให้เปิดลิ้นที่ขวดบรรจุแก๊สออกซิเจนก่อนโดยหมุนเปิดอย่างช้า ๆ และหมุนเปิดจนสุดระยะเกลียวทุกครั้ง เพื่อป้องกันแก๊สรั่วออกทางก้านลิ้น หลังจากนั้นให้เปิดลิ้นขวดบรรจุแก๊สอะเซทิลีน โดยหมุนเปิดเพียง 1-2 รอบ แล้วให้ปล่อยประแจที่ใช้เปิดคาไว้บนก้านลิ้น ปรับขนาดความดันแก๊สสำหรับหัวเชื่อม หรือหัวตัดตามที่บริษัทผู้ผลิตหัวเชื่อม หรือหัวตัดแนะนำไว้ เปิดลิ้นแก๊สออกซิเจนที่มือถือเชื่อมประมาณ 1/6 รอบ แล้วเปิดลิ้นอะเซทิลีนเล็กน้อยจากนั้นทดลองใช้มือบังที่ปลายหัวเชื่อม จะรู้สึกว่ามีแก๊สพุ่งออกมาจึง ใช้เครื่องมือจุดไฟจุด โดยให้มีระยะห่างจากปลายหัวเชื่อมประมาณ 25 ม.ม. และปรับเปลวไฟให้มีลักษณะตามต้องการ
การจุดเปลวไฟถ้าไม่เปิดแก๊สออกซิเจนจะมีเขม่าและควันมาก เพราะการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าเปิดแก๊สออกซิเจนมากก็จะจุดไฟไม่ติด ดังนั้นต้องเปิดแก๊สออกซิเจนให้พอเหมาะ
การดับเปลวไฟที่ถูกต้องให้ปิดลิ้นแก๊สอะเซทิลีนก่อนแล้วจึงปิดแก๊สออกซิเจน เพราะจะไม่ทาให้เกิดเขม่าควัน และยังเป็นที่แน่ใจว่าเปลวไฟนั้นได้ดับจริง ๆ
#ลักษณะของเปลวไฟที่ใช้ในการเชื่อมแก๊ส
เปลวไฟ มีหน้าที่ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน จนมีอุณหภูมิสูงถึงจุดหลอมละลายขณะที่ปฏิบัติการเชื่อม เปลวไฟที่ดีเหมาะกับการเชื่อมต้องพุ่งเป็นลากรวยแหลมยาวออกจากหัวเชื่อม โดยตำแหน่งที่ร้อนที่สุดห่างจากปลายเปลวไฟชั้นในประมาณ 2 – 10 ม.ม. และมีอุณหภูมิสูงถึง 3,200 องศาเซลเซียส ถ้าเปลวไฟไม่ถูกต้องจะมีผลต่อการเชื่อม และคุณภาพของแนวเชื่อม ลักษณะของเปลวไฟที่ไม่ถูกต้องจำแนกออกได้ดังนี้.
1. เปลวไฟเอียงและเปลวไฟแตกบานปลาย เปลวไฟที่พุ่งออกจากหัวเชื่อมอาจจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือแตกบานปลายไม่พุ่งเป็นลำกรวย ซึ่งมีสาเหตุได้หลายประการได้แก่ รูทางออกของแก๊สเอียงหรือขยายออกเป็นปากระฆัง มีสิ่งสกปรก สะเก็ดโลหะหรือเขม่าติดค้างภายในและบริเวณหัวทิป
#วิธีแก้ไข ให้ทำความสะอาดหัวทิปเพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่ติดค้างอยู่ โดยใช้ปลายหัวทิปถูกับแผ่นไม้เนื้อแข็งกลับไปกลับมาหลาย ๆ ครั้งในขณะที่ยังมีเปลวไฟอยู่ สิ่งสกปรกต่าง ๆ ก็จะหลุดออกๆไป ไม่ควรถูกับไม้เนื้ออ่อนหรือแผ่นไม้ที่ทาสี เพราะจะทาให้เสี้ยนไม้หรือสีอุดตันหัวทิป
ข้อควรระวัง ห้ามใช้หัวทิปถูกับเหล็ก คอนกรีต อิฐ หิน เพราะจะทำให้หัวทิปสึกกร่อนได้
2. เปลวไฟขาดตอนจากปลายหัวทิป การจุดเปลวไฟที่หัวเชื่อมบางครั้งจะพบว่าเปลวที่เกิดขึ้นพุ่งแรงและขาดตอนจากปลายหัวทิปมาก ไม่สามารถนำไปเชื่อมได้ ที่เป็นเช่นนี้เกิดจากความดันของแก๊สที่พุ่งผ่านหัวทิปสูงมากเกินปกติ ทำให้อัตราการไหลของแก๊สสูงตามไปด้วย
#วิธีแก้ไข ให้ลดความดันของแก๊สออกซิเจนหรือแก๊สอะเซทิลีนให้ต่ำลงจากเดิม โดยปรับที่เครื่องบังคับแก๊สและปรับที่ลิ้นมือถือหัวเชื่อมแก๊ส จนเปลวไฟเชื่อมเป็นปกติ
3. เปลวไฟมีละอองน้ำปนออกมา สังเกตได้จากเปลวไฟพุ่งแรงและมีละอองสีแดงเป็นฝอยอยู่ด้านในของเปลวไฟ สาเหตุเกิดจากอัตราการไหลของแก๊สอะเซทิลีนสูงกว่าปกติหรือมีน้ำในอุปกรณ์นิรภัยสูงกว่ากาหนด ทาให้น้ำส่วนที่เกินไหลปนออกมากับเปลวไฟ
#วิธีแก้ไข ให้ถอดข้อต่อสายเชื่อมแก๊สอะเซทิลีนออกจากมือถือหัวเชื่อมแล้วปล่อยให้น้ำที่ปนมาและตกค้างอยู่ในสายเชื่อมออกให้หมด แล้วต่อยึดสายเข้ากับมือถือเชื่อมเหมือนเดิม จากนั้นให้ตรวจระดับน้ำในอุปกรณ์นิรภัยว่าได้ระดับตามที่กำหนดหรือไม่ ถ้าน้อยไปก็เติม ถ้ามากไปก็ปล่อยออกให้ได้ระดับที่กำหนด
4. เปลวไฟเปลี่ยนแปลงเสมอ เปลวไฟจากหัวเชื่อมเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ บ่งครั้งพุ่งแรงบางครั้งพุ่งค่อยสลับกันไป เกิดจากความดันของแก๊สออกซิเจนหรือแก๊สอะเซทิลีนไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นเพราะเครื่องบังคับแก๊สไม่ทางานตามปกติชิ้นส่วนภายในชำรุดเป็นต้น
#วิธีแก้ไข ให้เปลี่ยนเครื่องบังคับแก๊สตัวใหม่ วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าเครื่องบังคับแก๊สชำรุดหรือไม่ให้ดูที่เข็มเกจ วัดความดันเคลื่อนไหวหรือสั่นอยู่บ่อย ๆ
5. เปลวไฟเปลี่ยนเป็นเปลวออกซิไดซิ่ง ในขณะเชื่อม สาเหตุเกิดจากการเชื่อมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้หัวทิปมีอุณหภูมิสูง ทำให้แก๊สออกซิเจนและแก๊สอะเซทิลีนแยกตัวไม่รวมกันตามปกติ แก๊สอะเซทิลีนจะลดปริมาณลงแต่แก๊สออกซิเจนยังคงเดิมทำให้เปลวกลาง เปลี่ยนเป็นเปลวออกซิไดซิ่ง.
#วิธีแก้ไข ต้องปรับเปลวไฟใหม่โดยเพิ่มปริมาณแก๊สอะเซทิลีนให้สูงขึ้นจากเดิม จนกระทั่งเปลวไฟเปลี่ยนเป็นเปลวคาร์บูไรซิ่งแล้วจึงลดแก็สอะเซทิลีนลงช้า ๆ ให้เปลวเปลี่ยนเป็นเปลวกลางเช่นเดิม หรือให้หยุดเชื่อมชั่วคราวเพื่อปล่อยให้หัวเชื่อมเย็นลงก่อนจึงทำการเชื่อมต่อไป
#ชนิดของเปลวไฟที่ใช้ใน การเชื่อม
#การสันดาปของแก๊สทั้งสองชนิดจากหัวเชื่อมแบ่งออกได้ 3 ลักษณะตามอัตราส่วนผสมดังนี้
1. เปลวคาร์บูไรซิ่ง (Carburizing Flame)
2. เปลวกลาง (Neutral Flame)
3. เปลวออกซิไดซิ่ง (Oxidizing Flame)
1. เปลวคาร์บูไรซิ่ง เกิดจากการสันดาปของแก๊สทั้งสองชนิด แต่แก๊สอะเซทิลีนจะมากกว่าแก๊สออกซิเจน การสันดาปของเปลวชนิดนี้จะมีแก๊สอะเซทิลีนจะเผาไหม้ไม่หมด ถ้าทำการเชื่อมในห้องหรือสถานที่อับอากาศไม่มีอากาศถ่ายเทอาจเป็นอันตรายได้ ความร้อนที่ได้จากเปลวไฟชนิดนี้จะต่ำกว่า 3,200 องศาเซลเซียส นิยมใช้สาหรับเชื่อมโลหะที่มีจุดหลอมตัวต่ำ เช่น ตะกั่ว อะลูมิเนียม และอื่น ๆ นอกจากนี้คาร์บอนที่เหลือจากการสันดาปจะทาหน้าที่คล้ายฟลักซ์คลุมแนวเชื่อม ป้องกันแก๊สออกซิเจนไม่ให้เข้ามารวมตัวกับแนวเชื่อม สังเกตเปลวไฟจะมี 3 ชั้น
2. เปลวกลาง เกิดจากการสันดาประหว่างแก๊สออกซิเจนและแก๊สอะเซทิลีนจากหัวเชื่อมในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 สังเกตได้ว่าเปลวไฟจะมี 2 ชั้น ชั้นในจะมีสีขาวนวลอมฟ้าสุกใสต่อจากปลายหัวทิป เปลวชั้นนอกล้อมรอบเป็นรูปกรวยแหลมยาว เปลวไฟชนิดนี้ให้อุณหภูมิความร้อนสูงสุดที่ 3,200 องศาเซลเซียส ตำแหน่งที่ร้อนที่สุดห่างจากเปลวไฟชั้นในประมาณ 2 – 10 ม.ม. ขึ้นอยู่กับขนาดหัวเชื่อม เปลวชนิดนี้นิยมใช้เชื่อมโลหะทั่ว ๆ ไป
3. เปลวออกซิไดซิ่ง เป็นเปลวที่มีแก๊สออกซิเจนมากกว่าแก๊สอะเซทิลีนการสันดาปของแก๊สชนิดนี้จะมีแก๊สออกซิเจนตกค้างอยู่ และสังเกตได้ชัดว่าเปลวชนิดนี้มีเพียง 2 ชั้นเปลวในเล็กและหดสั้นติดกับปลายหัวทิป เปลวชั้นนอกมีสีฟ้าอ่อน อุณหภูมิของเปลวชนิดนี้จะต่ำกว่าเปลวกลางเล็กน้อย นิยมใช้เชื่อมโลหะประเภท บรอนซ์ เพราะจะทาให้คุณสมบัติของบรอนซ์ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้านำเปลวชนิดนี้ไปเชื่อมเหล็กเหนียวจะเกิดฟอง มองเห็นบ่อละลายไม่ชัด แนวเชื่อมเปราะ และมีรูพรุนไม่แข็งแรง
การระบายความร้อนหัวเชื่อม ขณะที่เชื่อมติดต่อกันเป็นเวลายาวนานหัวเชื่อมจะร้อนกว่าปกติ การระบายความร้อนจากหัวเชื่อมทำได้โดยจุ่มหัวเชื่อมลงในถังน้ำ ปิดเฉพาะลิ้นแก๊สอะเซทิลีนส่วนแก๊สออกซิเจนเปิดไว้เช่นเดิม อาจจุ่มหัวเชื่อมลงถังน้ำจนถึงข้อต่อระหว่างหัวเชื่อมและมือถือเพื่อระบายความร้อนทุกส่วน
9 - 0
#ท่อบรรจุก๊าซอ๊อกซิเย่น ขนาด 6 คิว 40 ลิตร
ท่อบรรจุก๊าซอ๊อกซิเย่นขนาด 6 คิว หรือ 40 ลิตร มีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมงานเชื่อมและตัดโลหะ
ท่อบรรจุก๊าซอ๊อกซิเย่นขนาด 6 คิว หรือ 40 ลิตร พร้อมก๊าซ พร้อมก๊าซอ๊อกซิเย่น ก๊าซอ๊อกซิเย่นยังมีคุณสมบัติที่เป็นตัว Oxidization ช่วยให้การเผาไหม้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น, ลดต้นทุนและใช้พลังงานลดลงเมื่อเทียบกับการไม่ได้ใช้ก๊าซออกซิเจน มีการใช้อย่างแพร่หลายใน อุตสาหกรรมเหล็กและกระจก
4 - 0
#หน้ากากปรับแสงอัตโนมัติ LW650 XXL View Area
#LW650 XXL View Area หน้ากากปรับแสงอัตโนมัติ
#ปกป้องถนอมสายตาSafety Protect your eyes. True Color Lens
#การใช้งาน สวมใส่ขณะ เชื่อม ตัด เจียร
ใช้เลนส์คุณภาพสูง สีเสมือนจริง ช่วยปกป้องถนอมสายตา
เพิ่มขนาดและระยะความกว้างของเลนส์ >50% มองเห็นได้ดี กว้างขึ้น ชัดเจน
Ultra Large XXL Area With 4 Independent Sensors.
#รายละเอียดทางเทคนิค
Viewing Area ขนาดของกระจกปรับแสง : 100 X 80 mm.
Size of Cartridge ขนาดแผงด้านหน้า 133 x 100 x 80 mm. : 133 x 100 x 80 mm.
Variable Shade ระดับความเข้มกระจกที่ปรับได้ : DIN5, DIN6 , DIN7 , DIN8 , DIN9 , DIN10 , DIN10 , DIN11 , DIN12 ,DIN13 , Grind
Light to dark ความเร็วในการตัดจากสว่างไปมืด : Light to Dark (ความเร็วในการตัดจากความสว่างไปมืด) 1/25000s
Dark to light (Delay ) : Fast to Slow , Stepless adjusted
Shade control ปุ่มปรับความไวต่อแสง : Can Adjust Between Low to High
Power On/Off สวิตเปิด/ปิด : อัดโนมัติ Full Automatic
Power Supply ชนิดของแหล่งจ่ายไฟ : Rechargeadle lithium battery Lir 2450,cr2032 โซลล่าเซลล์ และชาร์จแบตเตอรี่
Arc Sensor จำนวนจุดรับแสง : Arc Sensor จำนวนจุดรับแสง 4 จุด
Welding Processes : MMA เชื่อมธูปไฟฟ้า TIG เชื่อมอาร์กอน MIG/MAG CUT พลาสม่า
Grinding Function งานเจียร : Grind
LOW Battery Alarm แจ้งแบตเตอรี่ต่ำ : LED Red
Test Function : ฟังก์ชั่นการทดสอบ Test ด้านใน
Operating Temperature : อุณหภูมิที่ทำงานปกติ : Outing Temperature (-100C -+ 60C)
Storing Temp คุณหภูมิที่เก็บไว้ได้ : -20 C - +70 C
Helmet Material วัสดุที่ผลิต Polypropylene
Weight น้ำหนัก 555 G
4 - 0
#เครื่องเชื่อมอาร์กอน LONGWELL รุ่น TIG 200 Metal
เชื่อมได้ง่ายขึ้น ด้วยระบบ Arc Striking ระบบจุดอาร์คด้วยความถี่สูง อีกทั้งยังมาพร้อมหน้าจอดิจิตอล Digital Display สามารถปรับตั้งกระแสเชื่อมได้แม่นยำมากขึ้น
#คุณสมบัติสินค้า
ความสามารถในการทำงาน 100% Duty Cycle
มีระบบ Arc Striking จุดอาร์คด้วยความถี่สูง
แรงดันไฟฟ้า AC 220 V
กระแสไฟเชื่อม 10-200 A
ขนาดเครื่อง กว้าง 152 x ยาว 390 x สูง 300 มม.
น้ำหนัก 7.4 กก.
รองรับขนาดลวดเชื่อมทังสเตน 1.6-2.4 มม.เชื่อมชิ้นงานขนาด 0.8-8.0 มม.
แถมฟรี!! อุปกรณ์ครบชุด
สายเชื่อมทิกยาว 5 เมตร
สายกราวด์ยาว 3 เมตร
แคลมป์รัดท่อ 2 ชิ้น
สายยางยาว 3 เมตร
เกจอาร์กอน
นมหนูเซรามิก เบอร์ 4, 5, 6, 7
คอเล็ท,คอเล็ทบอดี้
ก้านจับจำปาสั้น,ยาว
ลวดเชื่อมทังสเตน
ถุงมือหนัง
การนำไปใช้งาน
Mild Steel – เหล็กกล้าละมุนหรือเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ
Stainless Steel – สเตนเลส หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม
Copper – ทองแดง
Brass – ทองเหลือง
Titanium – ไทเทเนียม
4 - 0
#อุปกรณ์ชุดหัวปืนเชื่อมอาร์กอน (TIG) TIG WP26
#สายเชื่อมทิกพร้อมหัว WP26
สำหรับเครื่องเชื่อมทิก สายเชื่อมมีความทนแทนต่อความร้อน และสามารถเชื่อมได้ตลอด ด้วยการระบายความร้อนด้วยอากาศ มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน คงทน
#อุปกรณ์ประกอบด้วย
1.ชุดสายเชื่อมทิ๊ก ยาว 4 เมตร
2.ข้อต่อไทย 25P ขนาด 9/16”
3.ข้อต่อ สัญญาณ 2P
4.Gas inlet ขนาด 3/8”
5.หัวเชื่อม TIG WP26
6.Nozzle
7.Coller
8.Collet body
9.ก้านจับลวดเชื่อม สั้น /ยาว
#ข้อแนะนำ
– เช็ดทำความสะอาดสายเครื่องสม่ำเสมอ เพื่ออายุการใช้งานที่นานขึ้น
– ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของสายเชื่อม
#คำเตือน
– เลือกใช้สายเชื่อมให้ตรงกับกระแสไฟเชื่อมของเครื่องเชื่อม
– เลือกสายเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน
6 - 0
#ท่อบรรจุก๊าซอาร์กอน ขนาด 6 คิว 40 ลิตร
ท่อบรรจุก๊าซอาร์กอนขนาด 6 คิว หรือ 40 ลิตร พร้อมก๊าซอาร์กอน ได้รับการผลิตจากเหล็กกล้าคุณภาพสูงด้วยเครื่องจักรอันทันสมัย เชื่อถือได้ในด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน สามารถนำมาใช้บรรจุก๊าซต่างได้หลายหลาก บรรจุ ก๊าซอาร์กอนเป็นก๊าซเฉื่อย ไม่มีรส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการเชื่อมและตัดโลหะ ก๊าซอาร์กอนเป็นที่นิยมใช้เป็นก๊าซปกคลุมสำหรับงานเชื่อม TIG และ MIG
4 - 0
เพื่อให้ความรู้และแบ่งปันเกี่ยวกับงานเชื่อม(กรรมวิธีการเชื่อม)ในรูปแบบต่างๆที่ควรรู้พร้อมสามารถนำไปประกอบอาชีพได้กับกลุ่มคนที่ทำการฝึกปฎิบัติอย่างยิ่ง...ที่กล่าวมาผู้สร้างนี้
กล่าวถึงงานเชื่อมโลหะเป็นงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นสาขางานที่เป็นพื้นฐานของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศชาติได้ แต่คนส่วนใหญ่จะมองข้ามไป ถ้าได้ทำการศึกษาและมีการวิจัยพร้อมทั่งนำมาพัฒนา ในสาขานี้จะมีความที่ยิ่งใหญ่และจะเป็นผู้นำประเทศได้ ดังที่นี้พวกในประเทศที่พัฒนากัน (เช่น อเมริกา จีน และทางยุโรป อีกหลายประเทศ ในยุคหนึ่งได้ทำอุปกรณ์ไปท่องนอกโลก เพื่อไปสำรวจดาวต่างๆ และอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึง
ดังนั้นผู้สร้างจึงหวังว่าคลิปที่ลงในที่เป็นประโยนช์ไม่มากก็น้อย แต่ถ้านำไปต่อยอดและพัฒนาคิดว่าผลงานนั้นจะสร้างคุณค้าได้อีกมากมายอย่างยิ่ง
นายระพิน แสงสุด
ผู้สร้างสรรค์งาน
ติดต่อช่องทาง
line.me/ti/p/b04yrNK9ax
RapinSangsud0213