in the future - u will be able to do some more stuff here,,,!! like pat catgirl- i mean um yeah... for now u can only see others's posts :c
การย้ายไปอยู่ ในพื้นที่ค่าครองชีพต่ำกว่า ตอนอายุมาก
เป็น 1 ในแผนเกษียณอายุ ของนักวางแผนการเงินเช่นกัน
เราสังเกต คนญี่ปุ่น ยุโรป จะมีโครงการสนับสนุนให้ไปอยู่ประเทศที่ค่าเงิน และ ค่าครองชีพ ต่ำกว่าประเทศตนเอง
ใครที่มีเงินเก็บไม่ได้มากนัก ไม่ได้มีความสามารถลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ
ลองคิดแผนนี้ไว้เป็นทางเลือกดูนะครับ
จะย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด ที่ค่าครองชีพต่ำก็เป็นอีก 1 ทางเลือก
เข้าใจ และ ยอมรับในความสามารถตนเองอย่างแท้จริง แล้วเลือก วิธีที่เหมาะสมกับตนเอง
แก่นวางแผนการเงิน คือ ใช้ชีวิตสมฐานะ คิดเผื่อความไม่แน่นอน ทั้งผิดหวัง และ สมหวัง โดยไม่เปรียบเทียบชีวิตตนเอง กับ ผู้อื่น
สู้ๆครับ
เริ่มต้นที่ตนเองก่อนเสมอ
อย่ารอคนอื่นที่เราควบคุมไม่ได้
5 - 0
เหตุ เจริญแห่งทรัพย์ 8 ประการ
เหตุเจริญในปัจจุบัน
1.ขยันในอาชีพสุจริต เป็นผู้เชี่ยวชาญในอาชีพนั้นๆ
2.รู้จัก รักษาทรัพย์ เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีในปัจจุบัน
3.คบหา กัลยาณมิตร (คนที่เจตนาดีกับเรา ยิ่งพร้อมด้วย ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ยิ่งดี)
4.ใช้ชีวิตสมฐานะ ไม่เกินขาด ไม่เกินฐานะ
เหตุเจริญในอนาคต
5.มีความเชื่อ หรือ ทัศนคติ ที่ถูกต้อง เช่น ศรัทธาเรื่องกรรม
6.รักษา ศีล หรือ ไม่เบียดเบียนตนเอง และ ผู้อื่น
7.ละความเห็นแก่ตัว อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการ ให้ทาน ให้อภัย ยินดีกับผู้อื่นเวลาได้ดี เป็นต้น
8.มีปัญญา ทางธรรม ฝึกฝนตนเองให้สามารถเห็นความจริงตามธรรมชาติ ได้บ่อยๆ
แก่นวางแผนการเงิน คือ การใช้ชีวิตสมฐานะ คิดเผื่อความไม่แน่นอน ทั้งผิดหวัง และ สมหวัง โดยไม่เปรียบเทียบตนเอง กับ ผู้อื่น
สู้ๆครับ
เริ่มต้นที่ตนเองก่อนเสมอ
อย่ารอคนอื่นที่เราควบคุมไม่ได้
8 - 0
ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยแบบไม่มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
ระวังจะกลายเป็นหนี้ไม่รู้ตัว
รีบสร้างเงินสำรองฉุกเฉินก่อนจะสายไป 👇
ลดความเสี่ยง เลี่ยงการเป็นหนี้ ด้วยการสร้างเงินสำรองฉุกเฉิน
มีคนรอบตัวผมหลายคนเลย พอได้เงินเดือนออกมา สิ่งแรกที่เขาจะคิดกันก็คือ “เอาเงินไปช้อปอะไรดี ?”
บางคนก็ซื้อเสื้อผ้าบ้าง ซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่ตัวเองอยากได้ บางคนก็เอาไปเที่ยวเอาไปใช้ตามที่หวังเอาไว้
ชีวิตก็ดูมีความสุขดี ถึงแม้ใกล้สิ้นเดือนจะเหมือนสิ้นใจ แต่สุดท้ายเขาก็ผ่านกันไปได้ แถมไม่มีหนี้ติดตัว และรอรับเงินเดือนใหม่และใช้ชีวิตวนลูปไปแบบนั้น
จนมาวันนึงรุ่นพี่คนนึงแม่เขาเกิดป่วยกะทันหันขึ้นมา เข้าโรงพยาบาลและต้องใช้เงินค่ารักษาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีเงินเก็บเหลืออยู่เลย จนต้องไปกดเงินจากบัตรกดเงินสดที่โดนดอกเบี้ยต่อปีเกือบๆ 25% แพงบรรลัยเลย แถมต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลแม่ต่ออีก จากที่ต้องลำบากรีบหาเงินมาใช้หนี้บัตรกดเงินสดแล้ว ยังต้องมากังวลที่ไม่ได้ทำงานอีก
เห็นไหมล่ะครับว่า ถึงแม้เราจะใช้ชีวิตแบบไม่เป็นหนี้ มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้นไม่เดือดร้อนใคร แต่สุดท้ายชีวิตของเราก็ยังอยู่ในความเสี่ยงอยู่ดี
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ “เงินสำรองฉุกเฉิน” นั้นสำคัญและเป็นเงินก้อนแรกที่เราจำเป็นที่จะต้องมีทุกคน
เงินสำรองฉุกเฉิน ก็ตรงตามชื่อเลย ใช้สำหรับเหตุฉุกเฉิน ต้องใช้เงินกะทันหัน เช่น ตกงานแบบสายฟ้าแลบ ใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลเวลาเข้าโรงพยาบาล ไม่ใช่เอาไปช้อปปิ้งแล้วบอกว่ามันฉุกเฉินนะ อันนั้นตัดทิ้งเลย
แล้วมีเงินเท่าไหร่ล่ะ ถึงจะพอสำหรับคำว่า “ฉุกเฉิน”
ตามตำราเขาบอกเอาไว้ว่าควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3 – 6 เดือนของรายจ่ายทั้งหมด
สมมุติผมมีค่ากิน 4,000 บาท/เดือน ค่าผ่อนรถ 5,000 บาท/เดือน ค่าน้ำค่าไฟ 2,000 บาท/เดือน รวมค่าใช้จ่ายเป็น 11,000 บาท/เดือน นั่นหมายความว่าผมต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 33,000 – 66,000 บาท นั่นเอง
แต่ในมุมมองของผม คิดว่าปัจจุบันนี้แค่ 3 – 6 เดือนน่าจะไม่เพียงพอแล้ว เก็บไว้แน่นๆเลย 6 – 12 เดือนไปเลย เห็นจากช่วงโควิดที่คนตกงานกันเยอะและกว่าจะหางานใหม่ได้ บางคนก็ใช้เวลาเป็นปีเลย เก็บไว้เลย 6 – 12 เดือนของรายจ่ายอุ่นใจกว่า
ซึ่งควรเก็บเอาไว้ในที่ที่สภาพคล่องสูงสามารถถอนออกมาใช้ได้เลย เช่น ฝากออมทรัพย์ ฝากกับบัญชีดิจิทัล เพราะบางทีเรามีความจำเป็นที่จะต้องถอนออกมาใช้แบบฉุกเฉินเลย เกิดเอาไปไว้ในหุ้น ในกองทุนรวม แล้วดันต้องใช้เงินทันที กลายเป็นต้องไปกู้มาก่อนอยู่ดี เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีก
ทุกคนลองสำรวจตัวเองนะครับ ว่าตอนนี้เรามีเงินสำรองฉุกเฉินแล้วหรือยัง เรามีพอสำหรับ 6 – 12 เดือนแล้วใช่ไหม ถ้ามีแล้วก็อุ่นใจได้ในระดับนึง แต่สำหรับคนที่ยังไม่มี ผมก็อยากให้ทุกคนเริ่มเก็บตั้งแต่เดือนนี้เลย อาจจะแบ่งออกมาสัก 10% ของรายได้ เก็บไว้ทุกเดือนๆ แล้วไม่ต้องเอาออกมาใช้ เท่านี้เราก็มีเงินสำรองฉุกเฉินก้อนแรกของตัวเองแล้ว
3 - 0
ไทย ปี 2539 – 2541 (ช่วงต้มย้ำกุ้ง)
.
สหรัฐ ปี 2549 – 2552 (ฟองสบู่อสังหา)
.
ยุโรป ปี 2554 – 2556 (ฟองสบู่หนี้)
.
จีน ปี 2564 – 2566 (ฟองสบู่อสังหา + หนี้ธนาคารเงา)
.
เวียดนาม ลุ้นอยู่ว่า หนี้เสียของธนาคาร Saigon Commercial Bank จะลุกลามไหม
.
เกาหลี ลุ้นอยู่ว่าจะเกิดไหม (หนี้ธนาคาเงา)
.
ซึ่งทุกครั้งที่เกิดวิกฤตหรือปัญหาจะมี กฎ หรือ กติกา ออกมาป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่ายอีกครั้งในอนาคต
.
สิ่งที่หนึ่งที่ทำมาตลอด คือ การกั้นสำรอง + เพิ่มความเข้มงวด ในการปล่อยกู้เสมอ
.
แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่สามารถห้าม ความโลภของผู้คนได้ในการ พยายามเก็งกำไร สินทรัพย์อะไรสักอย่างด้วยเงินกู้ จนเกินความต้องการ
หรือ ไม่สามารถห้ามการพยายาม โกง หรือ ทำผิดกติกา ที่ตกลงกันไว้
หรือ พยายามจะปรับเปลี่ยน กฎ กติกา เมื่อเวลาผ่านไป ลดวินัยทางการเงินเพื่อ แก้ปัญหาระยะสั้น
.
เหตุผลของการศึกษาอดีต ก็เพื่อจะได้คาดการณ์ได้เบื้องต้นว่า อนาคตจะเกิดขึ้นอีกครั้ง จะมีสัญญาณอะไรที่เหมือนในอดีตบ้าง และ มีอะไรที่แตกต่างจากอดีตบ้าง แต่เตือนสติตนเองว่า ทุกประเทศ ทุกสินทรัพย์ มีช่วงเวลาที่ดี และ ที่แย่ ของตนเองเหมือนกัน อยู่ที่ช้า หรือ เร็ว
.
แก่นวางแผนการเงิน คือ ใช้ชีวิตสมฐานะ คิดเผื่อความไม่แน่นอน ทั้งผิดหวัง และ สมหวัง โดยไม่เปรียบเทียบชีวิตตนเองกับคนอื่น
.
#วางแผนการเงิน #ที่ปรึกษาการเงิน #Lumpsum
4 - 0
ปัญหาวัยทำงานไทยน้อยลง มีโอกาสเศรษฐกิจค่อยๆแย่ลง
วัยทำงานไทย (อายุ 15-64 ปี) จะลดลงเฉลี่ยปีละ 3 แสนคน ในช่วงปี 2020 – 2030
และ จะลดลงเฉลี่ยปีละ 4.5 แสนคน ในช่วงปี 2030 – 2050
สุดท้าย คนอายุเกิน 65 ปีจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5.4 แสนคน
ปัญหาทางการเงินของคนสูงวัยไทย คือ มีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณสูงถึง 67%
คนที่ขับเคลื่อน ผลผลิตหรือสร้างรายได้ให้ประเทศไทย ลดลงเรื่อยๆ
คนที่จ่ายภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นสัดส่วน 16-18% ของประเทศน้อยลงเรื่อยๆ
การพยายามแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาความสามารถของคน และ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่ม ผลผลิตต่อคน ให้กับประชาชนในประเทศคือ การแก้ปัญหาระยะสั้น
ปัญหาภาพใหญ่ของประเทศ แก้ไม่ได้ง่ายๆ และ ต้องใช้ความร่วมมือของคนหลายภาคส่วนมากๆ อีกทั้งใช้ระยะเวลายาวนานด้วยเช่นกัน
อย่างน้อยที่สุดมาพัฒนาตนเอง และ ไม่ทำให้ตนเองเป็นปัญหาของภาพรวม ก็ยังดีครับ
สู้ๆครับ
เริ่มต้นที่ตนเองก่อนเสมอ
อย่ารอคนอื่นที่เราควบคุมไม่ได้
2 - 0
ถ้าเราบริหารจัดการความเสี่ยงได้ถูกต้องและเหมาะสม
มันจะทำให้ทรัพย์สินโดยรวม เพิ่มขึ้นมาเอง
เพราะ เราจะพยายามหลีกเลี่ยง สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มความเสี่ยง
รักษาระดับความเสี่ยงรวม ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
แก่นวางแผนการเงิน คือ การใช้ชีวิตสมฐานะ คิดเผื่อความไม่แน่นอน ทั้งผิดหวังและสมหวัง โดย ไม่เปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น
สู้ๆครับ
เริ่มต้นที่ตนเองก่อนเสมอ
อย่ารอคนอื่นที่เราควบคุมไม่ได้
3 - 0
ทำไม การฝึกใช้ทรัพยากรจำกัด ถึง ส่งผลให้คนนั้นมีโอกาสประสบผลสำเร็จทางการเงิน มากกว่า คนที่ไม่ได้ฝึก
1.ทุกคน ไม่ว่าจะรวยแค่ไหน มีทรัพยากรบางอย่าง ที่จำกัดเสมอ เช่น เวลาต่อวัน กระแสเงินสดต่อเดือน
2.จำนวนคนที่ไม่รวย มีมากกว่า คนรวย ถ้าคิดได้แค่รูปแบบเดียวว่า การจะมีเงินเพิ่มขึ้น ต้องมีเงินก้อนหนึ่งที่มากพอก่อนเสมอ เท่ากับจะไม่มีใครเปลี่ยนชีวิตตนเองให้ดีขึ้นได้เลย ถ้าเกิดมาจน
3.คนเราเมื่ออยู่ภายใต้ข้อจำกัด และต้องเติบโต จะค้นหาวิธี ใช้ทรัพยากรที่อยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ไม่มีเงินใช้ทรัพยากรอย่างอื่นแทนได้ไหม เช่น แรงงาน หรือ เวลา เป็นต้น
4.คนที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้คุ้มค่า อยู่ตลอดเวลา ย่อมสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า คนที่ลืมมองสิ่งที่ตนเองมี เผลอไปมองสิ่งที่ตนเองขาด
แก่นวางแผนการเงิน คือ ใช้ชีวิตสมฐานะ คิดเผื่อความไม่แน่นอน ทั้งผิดหวัง และ สมหวัง โดยไม่เปรียบเทียบชีวิตตนเองกับคนอื่น
สู้ๆครับ
เริ่มต้นที่ตนเองก่อนเสมอ
อย่ารอคนอื่นที่เราควบคุมไม่ได้
5 - 0
สำเร็จก่อน ไม่ได้แปลว่า สำเร็จกว่า
สำเร็จช้า ไม่ได้แปลว่า ไม่สำเร็จ
ทุกความสำเร็จ ต้องใช้ ความสม่ำเสมอ และ ระยะเวลา
ทุกการกระทำ ล้วนนำมาซึ่งผลลัพธ์
ทุกคนให้ความหมาย ความสำเร็จ ไม่เหมือนกัน
ทุกคนมีช่วงเวลา แห่งความสำเร็จ ไม่เหมือนกัน
ค้นหา ความสำเร็จในรูปแบบของตนเองให้เจอ โดยไม่เปรียบเทียบกับใคร
พยายามลงมือทำ สิ่งที่ควรทำ อย่างสม่ำเสมอ ให้ต่อเนื่องยาวนาน
แล้วมีความสุข ระหว่างที่ลงมือทำ โดยไม่ต้องรอผลลัพธ์
แก่นวางแผนการเงิน คือ ใช้ชีวิตสมฐานะ คิดเผื่อความไม่แน่นอน ทั้งผิดหวัง และ สมหวัง โดยไม่เปรียบเทียบชีวิตตนเองกับผู้อื่น
สู้ๆครับ
เริ่มต้นที่ตนเองก่อนเสมอ
อย่ารอคนอื่นที่เราควบคุมไม่ได้
13 - 0
อดีตผ่านไปแล้ว อนาคตไม่เคยมาถึง
ปัจจุบันมีอยู่จริง แค่ชั่วขณะ
เรามีอิสระในการ คิด พูด ลงมือทำ
แต่ไม่มีอิสระตอน แสดงพฤติกรรมไปแล้วนะครับ
แก่นวางแผนการเงิน
ใช้ชีวิตให้สมฐานะ คิดเผื่อความไม่แน่นอน ทั้งผิดหวัง และ สมหวัง โดยไม่เปรียบเทียบชีวิตตนเองกับผู้อื่น
คนที่ให้เราได้ดีที่สุด คือ นิสัย หรือ ความเคยชินของตัวเราเอง
สู้ๆครับ
เริ่มต้นที่ตนเองก่อนเสมอ
อย่ารอคนอื่นที่เราควบคุมไม่ได้
1 - 0
ร่วมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนไปด้วยกันกับ EA เปิดจองซื้อหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 4.10% ต่อปี
“EA” ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด ออก ‘กรีนบอนด์’ 3 ชุด ชูอัตราดอกเบี้ย 3.20 - 4.10% ต่อปี
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ “EA” เตรียมเสนอขาย ‘หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม’ หรือ ‘กรีนบอนด์’ จำนวน 3 ชุด อายุ 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยระหว่าง 3.20 – 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อยู่ที่ระดับ ‘A-’ โดยคาดว่าจะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นการเสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป
“กรีนบอนด์” ของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ ที่จะเสนอขายครั้งนี้ มีจำนวน 3 ชุด คือ
• รุ่นอายุ 1 ปี อัตราผลตอบแทน 3.20% ต่อปี
• รุ่นอายุ 3 ปี อัตราผลตอบแทน 3.70% ต่อปี และ
• รุ่นอายุ 5 ปี อัตราผลตอบแทน 4.10% ต่อปี
กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน (ตลอดอายุหุ้นกู้)
หุ้นกู้ EA ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ที่ระดับ “A-” แนวโน้มอันดับเครดิต “ลบ” สะท้อนถึงกระแสเงินสดที่แข็งแรง และศักยภาพของธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แบตเตอรี่ และ ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ครั้งนี้ มีจำนวน 7 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ และ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย)
หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ EA มีจุดเด่นอย่างไรบ้าง?
ในด้านของผลตอบแทนและความเสี่ยงนั้น เป็นจุดที่โดดเด่นทีเดียวสำหรับหุ้นกู้ EA ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “A-” เมื่อดูระดับความเสี่ยงที่มี 8 ระดับ (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 และสูงสุดที่ระดับ 😎 กรีนบอนด์ของ EA รุ่นอายุ 1 ปี มีความเสี่ยงเพียงระดับ 2 เท่านั้น ส่วนรุ่นอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 3 ในขณะที่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ สูงกว่าผลตอบแทนจากการฝากเงินทั่วๆ ไปอย่างชัดเจน
ความมั่นคงของผู้ออกหุ้นกู้อย่าง EA ก็เป็นอีกจุดเด่นหนึ่ง โดย EA เป็น “ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด” และเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากว่า 10 ปีแล้ว ด้วยผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 16,860.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,589.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.16 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ ธุรกิจแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน รวมถึงธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
EA ได้รับรางวัลที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานที่ดีหลายรางวัล เช่น รางวัลด้านองค์กรยอดเยี่ยม ได้แก่ รางวัล Most Innovative Energy Solution Provider Thailand 2021 โดย World Business Outlook, รางวัล Outstanding Company Performance Award 2022 ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงกว่า 100,000 ล้านบาท โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร
EA ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด "MISSION NO EMISSION" โดยมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์กำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 1 GWh และกำลังขยายกำลังการผลิตที่ 4 GWh ในช่วงไตรมาสที่ 2/2567 อีกทั้งมีโรงผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิตสูงสุด 9,000 คันต่อปี โดยที่ผ่านมา EA ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เช่น รถโดยสารไฟฟ้าหรือ E-Bus ที่วิ่งให้บริการในหลากหลายเส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถบรรทุกไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า ตลอดจนมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 490 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาค
นอกจากนี้ การที่ EA ออกหุ้นกู้เป็น “กรีนบอนด์” ก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า ผู้ลงทุนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากธุรกิจของ EA เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เพื่อโลกที่ยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้รับการประเมินเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืน MSCI ESG Ratings 2023 โดย MSCI และล่าสุดยังได้รับรางวัล Corporate Excellence Award ในเวทีระดับสากล Asia Pacific Enterprise Awards (APEA) 2023 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรางวัลที่สะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการองค์กรที่ดีเลิศ มีการเติบโตที่มั่นคงแข็งแกร่งและยั่งยืน
ไม่แต่เพียงเท่านั้น EA ยังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยจะเห็นได้จากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับ เช่น รางวัลประเภทนวัตกรรมยอดเยี่ยมด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ รางวัล Emerging Technology of the Year : The 2020 Global Energy Awards ผลงานเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry โดย : S&P Global Platts, รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งปี ผลงานเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รางวัล Best Innovative Company Award 2022 ผลงานนวัตกรรมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน AMITA Technology (Thailand) โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร
ผู้ลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่านสถาบันการเงินทั้ง 7 แห่ง ดังนี้
• ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยกเว้นสาขาไมโคร โทร. 1333 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน Bualuang mBanking
• ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) * หรือ โทร. 02-777-6784 (โดยบุคคลธรรมดาสามารถจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอป SCB EASY ได้อีก 1 ช่องทาง)
• ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-626-7777 (โดยบุคคลธรรมดาสามารถจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน แอปพลิเคชัน - CIMB Thai Digital Banking ได้อีก 1 ช่องทาง)
• บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-658-5050
• บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02-846-8675
• บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-820-0410
• บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โทร.02-009-8351-59
* ซึ่งรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
4 - 0
Lumpsum คือแหล่งรวมเรื่องราวการเงิน คอนเทนต์เกี่ยวกับการวางแผนการเงิน ไม่ว่าจะเป็น การออมเงิน การเก็บเงิน การทำรายรับ-รายจ่าย กองทุนรวม ภาษีเงินได้ รีไฟแนนซ์บ้าน, รถยนต์, บัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด, และการลงทุน (ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเงิน) รวมถึงเทคนิคและวิธีแก้หนี้ส่วนบุคคล แก่สำหรับบุคคลนั้นๆ และที่สำคัญ Lumpsum มีอาจารย์คอยให้คำปรึกษาด้านการเงินแบบตัวต่อตัว หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัย สามารถส่งคำถามเข้ามาพูดคุยกันได้เลย