Channel Avatar

HR BUDDY @UC0rlbK0GqHq3woo1g14tg1A@youtube.com

26K subscribers - no pronouns :c

Welcome to HR BUDDY - the department with the personnel touc


Welcoem to posts!!

in the future - u will be able to do some more stuff here,,,!! like pat catgirl- i mean um yeah... for now u can only see others's posts :c

HR BUDDY
Posted 4 days ago

‼️ เลิกจ้างกะทันหัน ไม่บอกล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดใด ๆ กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายอะไรบ้าง ภายในกี่วัน และกรณีนายจ้างไม่ทำตามกฎหมาย ลูกจ้างฟ้องร้องได้ภายในกี่ปี

HR Buddy สรุปคำตอบให้นะคะ ❤
.
👉 1 สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ)
✅ ต้องจ่ายในวันเลิกจ้าง อายุความ 10 ปี
.
👉 2 ค่าชดเชย (กรณีทำงานครบ 120 วัน)
✅ ต้องจ่ายในวันเลิกจ้าง อายุความ 10 ปี
.
👉 3 ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด ค่าล่วงเวลาวันหยุด
✅ ต้องจ่ายภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันเลิกจ้าง อายุความ 2 ปี
.
👉 4 ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี (วันลาพักร้อน)
✅ ต้องจ่ายภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันเลิกจ้าง อายุความ 2 ปี
.
👉 5 ค่าชดเชยพิเศษ (กรณีย้ายสถานประกอบการ)
✅ ต้องจ่ายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันเลิกจ้าง อายุความ 10 ปี
.
👉 6 ค่าประกันการทำงาน
✅ ต้องจ่ายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันเลิกจ้าง อายุความ 10 ปี
.
📌 หมายเหตุ : นายจ้างไม่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด ต้องเสียดอกเบี้ย 15% ต่อปี
ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องร้องได้ตามอายุความ
.
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR
😍 อีเมล : hrbuddybyjobbkk@gmail.com
-------------------------------------------------------
#กฎหมายแรงงาน #เลิกจ้าง #เลิกจ้างกะทันหัน #สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า #ค่าตกใจ #ค่าชดเชย #ค่าจ้าง #ค่าล่วงเวลา #ค่าโอที #ค่าทำงานวันหยุด #เงินประกันการทำงาน #คนทำงาน #พนักงาน #นายจ้าง #ลูกจ้าง #hr #hr2024 #HRBuddy

26 - 0

HR BUDDY
Posted 2 weeks ago

👉 แม้ลูกจ้างเซ็นใบลาออกเอง นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าเสียหาย ถ้ามีการบังคับ กดดัน หลอกลวง!!
❌ นายจ้างอย่าเข้าใจผิดนะคะ การบังคับให้ลูกจ้างเซ็นใบลาออกโดยไม่สมัครใจ เรื่องไม่จบ สุดท้ายลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย (กรณีทำงานครบ 120วัน) ค่าตกใจ (กรณีให้ออกกะทันหัน) รวมถึงค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี (กรณีลูกจ้างได้สิทธิ)
.
😢 กรณีที่มีการบังคับ กดดัน ข่มขู่ หลอกลวง ทำให้ลูกจ้างไม่มีทางเลือก เพื่อให้ลูกจ้างเซ็นใบลาออก ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เช่น
“ถ้าเธอไม่เซ็น จะไม่จ่ายค่าชดเชย”
“ไม่เซ็น ไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่คืนเงินประกันการทำงาน”
“ไม่เซ็น ไม่ให้ออกจากห้องประชุม”
.
นายจ้างอย่าหาทำเลยนะคะ ถ้าอยากให้ลูกจ้างออก ก็เลิกจ้างให้ถูกต้อง ถ้าเขาไม่ได้ทำผิด ก็จ่ายเงินตามสิทธิที่ลูกจ้างต้องได้ หรือถ้าเขาทำผิด ก็ออกหนังสือเตือนหรือเลิกจ้างตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ดีกว่าจะต้องมีเรื่องฟ้องร้องกันค่ะ 😍
.
👉 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2548 : บีบบังคับให้ลูกจ้างยื่นใบลาออก ถ้าไม่ยื่นจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
ในสถานการณ์เช่นนี้ ลูกจ้างเกิดความกลัวจึงยอมยื่นใบลาออกให้นายจ้าง เท่ากับว่าการยื่นใบลาออกเกิดขึ้นเพราะการข่มขู่ของนายจ้าง และเป็นการให้ลูกจ้างลาออกทันที นายจ้างเจตนาไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อและจะไม่จ่ายค่าจ้าง ดังนั้นเท่ากับว่าเป็นการเลิกจ้าง
.
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR
😍 อีเมล : hrbuddybyjobbkk@gmail.com
-------------------------------------------------------
#ลาออก #บังคับเซ็นใบลาออก #พนักงาน #นายจ้าง #ลูกจ้าง #กฎหมายแรงงาน #เลิกจ้าง #hr #hr2024 #HRBuddy

192 - 4

HR BUDDY
Posted 1 month ago

👉 ลูกจ้างที่ไม่ได้ทำความผิดแล้วได้หนังสือเตือน ไม่ต้องกังวลอะไรนะคะ จะออกกี่ใบก็ออกเลย ไม่มีผลใด ๆ แต่ต้องแน่ใจว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิดจริง ๆ ส่วน HR หรือนายจ้าง ถ้าเจอลูกจ้างไม่น่ารัก ทำผิดระเบียบบริษัท สามารถออกหนังสือเตือนได้ แต่อย่าลืมนะคะว่าต้องครบ 6 องค์ประกอบนี้ถึงจะมีผลทางกฎหมาย สามารถนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามมาตรา 119 😍

✅ 1 ลูกจ้างต้องผิดจริง โดยการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน หรือคำสั่งกรณีที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ถ้าระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งนั้นขัดต่อกฎหมายแล้วมีการออกหนังสือเตือนก็ไม่มีผลใด ๆ เช่น การออกหนังสือเตือน เพราะลาป่วยบ่อย แต่ลูกจ้างป่วยจริง เนื่องจากเรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้นไม่ใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนะคะ

✅ 2 หนังสือเตือนต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร การเตือนด้วยวาจา ไม่ถือว่าเป็นหนังสือเตือน ส่วนการทำเป็นเอกสารแล้วส่งทางอีเมล สามารถทำได้ ถือว่าเป็นหนังสือเตือนค่ะ

✅ 3 ต้องออกโดยผู้มีอำนาจ คือนายจ้าง หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากนายจ้างเท่านั้น ถ้าคนที่ไม่มีอำนาจเป็นผู้ออกหนังสือเตือนก็ไม่มีผลอะไร เช่น หัวหน้าแผนก ถ้าไม่ได้รับมอบอำนาจจากนายจ้าง ก็ไม่สามารถออกหนังสือเตือนได้ค่ะ

✅ 4 ต้องมีข้อความระบุว่า ลูกจ้างทำผิดอะไร วัน เวลา ลักษณะการกระทำผิดทำอย่างไร ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานเรื่องใด และต้องระบุด้วยว่าห้ามทำผิดซ้ำอีก ถ้าฝ่าฝืนจะมีการลงโทษหนักขึ้นหรือเลิกจ้าง

✅ 5 ต้องแจ้งหนังสือเตือนให้ลูกจ้างทราบ โดยให้ลูกจ้างเซ็นชื่อ หรืออ่านหนังสือเตือนให้ลูกจ้างฟังต่อหน้าพยาน ซึ่งอาจเป็นผู้บังคับบัญชาของลูกจ้างก็ได้ แล้วให้พยานเซ็นชื่อรับรอง หรือส่งไปรษณีย์ตอบรับไปที่อยู่ของลูกจ้าง
📌 หมายเหตุ : ลูกจ้างไม่เซ็นชื่อในหนังสือเตือน ไม่ถือว่าขัดคำสั่ง

✅ 6 ลูกจ้างทำผิดซ้ำหนังสือเตือนใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำผิดครั้งแรก โดยจะต้องทำผิดเรื่องเดียวกันกับที่เคยทำครั้งแรก เช่น มาทำงานสาย มีการออกหนังสือเตือนครั้งแรกไปแล้ว 3 เดือนต่อมา ลูกจ้างมาทำงานสายอีก ก็ถือว่าผิดซ้ำหนังสือเตือน แต่ถ้าใน 1 ปีนั้น เขาฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับอื่นที่ไม่ใช่การมาทำงานสาย ก็ไม่ใช่การทำผิดซ้ำหนังสือเตือนนะคะ
.
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR
😍 อีเมล : hrbuddybyjobbkk@gmail.com
--------------------------------------------
#หนังสือเตือน #การออกหนังสือเตือน #พนักงาน #คนทำงาน #มนุษย์เงินเดือน #นายจ้าง #ลูกจ้าง #กฎหมายแรงงาน #hr #hr2024 #HRBuddy

19 - 1

HR BUDDY
Posted 1 month ago

สิทธิลาพักร้อนหรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี คนทำงานเข้าใจผิดกันเยอะมาก 😢 บางคนทำงานเป็น 10 ปีไม่เคยลาเลย โดนนายจ้างเอาเปรียบแบบไม่รู้ตัวมาหลายปี
ปล. สำหรับสิทธิลาพักร้อน หากไม่ได้สิทธิตามกฎหมาย อายุความ 2 ปี แจ้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ค่ะ


HR Buddy ขอรวบรวม 5 คำถามยอดนิยมพร้อมคำตอบให้เราทุกคนในฐานะคนทำงานได้รู้สิทธิของตัวเอง ส่วนนายจ้างก็ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายนะคะ 😍


⭐️ คำถามที่ 1
🤔 Q: หักเงินในวันลาพักร้อนได้ไหม
✅ A: เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี ได้สิทธิลาพักร้อนโดยได้ค่าจ้างอย่างน้อย 6 วันทำงาน/ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาพักร้อนเท่ากับวันทำงานปกติเลยค่ะ

⭐️ คำถามที่ 2
🤔 Q: พนักงานรายวัน ซับคอนแทรค ได้สิทธิลาพักร้อนไหม
✅ A: พนักงานทุกประเภท รายเดือน รายวัน ซับคอนแทรค เมื่อทำงานครบ 1 ปี ได้สิทธิลาพักร้อนตามกฎหมายเช่นเดียวกันเลยค่ะ

⭐️ คำถามที่ 3
🤔 Q: นายจ้างมีสิทธิไม่อนุมัติวันลาพักร้อนรึเปล่า
✅ A: มีสิทธิ แต่ต้องจัดวันอื่นให้แทนเพื่อให้ลูกจ้างได้สิทธิครบตามกฎหมาย เนื่องจากสิทธิลาพักร้อน ถือว่าเป็นวันหยุด ไม่ใช่วันลาเหมือนกับสิทธิลาป่วย ดังนั้น นายจ้างมีสิทธิไม่อนุมัติวันลาพักร้อนที่ลูกจ้างขอ รวมถึงมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขการลาได้ เช่น ต้องแจ้งล่วงหน้า 3 วัน 7 วัน แต่ไม่จำเป็นต้องแจ้งเหตุผลในการลานะคะ

⭐️ คำถามที่ 4
🤔 Q: นายจ้างบังคับให้ลาพักร้อนได้ไหม
✅ A: ได้ สำหรับสิทธิลาพักร้อน นายจ้างมีสิทธิกำหนดวันให้ลูกจ้าง หรือนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันก็ได้ ดังนั้นกรณีที่นายจ้างสั่งให้เราใช้สิทธิลาพักร้อนโดยกำหนดเป็นวันทำงานปกติ ไม่ถือว่าผิด แต่ต้องไม่เป็นการบังคับให้ใช้สิทธิลาพักร้อนแทนสิทธิการลาประเภทอื่น เช่น ขอลาป่วยให้ใช้ลาพักร้อนแทน หรือเมื่อถึงวันหยุดตามประเพณีแล้วหักสิทธิลาพักร้อน แบบนี้ไม่ถูกต้องค่ะ และถ้านายจ้างกำหนดวันลาพักร้อนให้แล้ว แต่เราไม่หยุดเอง เช่นนี้ก็ไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างเพิ่มนะคะ

⭐️ คำถามที่ 5
🤔 Q: ได้สิทธิพักร้อนไม่ครบใน 1 ปี นายจ้างตัดทิ้งเลยได้ไหม
✅ A: ไม่ได้ ลูกจ้างต้องได้สิทธิครบตามกฎหมาย นายจ้างอาจให้สะสมไปใช้ปีต่อไป หรือจ่ายเป็นค่าจ้าง 1 เท่า เนื่องจากลูกจ้างต้องได้สิทธิลาพักร้อนอย่างน้อย 6 วันทำงาน/ปี นายจ้างจัดให้มากกว่าได้ แต่น้อยกว่า 6 วันไม่ได้นะคะ

สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR
😍 อีเมล : hrbuddybyjobbkk@gmail.com
-------------------------------------------------------
#ลาพักร้อน #วันหยุดพักผ่อนประจำปี #พนักงาน #คนทำงาน #มนุษย์เงินเดือน #นายจ้าง #ลูกจ้าง #กฎหมายแรงงาน #hr #hr2024 #HRBuddy

13 - 1

HR BUDDY
Posted 1 month ago

ทุกอาชีพจะหางานยากขึ้น
ถ้าไม่ Unlearn สิ่งเก่า Relearn สิ่งใหม่
คนเก่งในอนาคตไม่ใช่คนที่มี IQ กับ EQ
แต่เป็นคนที่มี AQ (Adaptability Quotient)
ความสามารถในการปรับตัว

⭐ คุณท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ⭐
Founder and Group Chief Executive Officer, Bitkub Capital Group Holdings
-------------------------------------------------------
#ToppJirayut #ท๊อปจิรายุส #Unlearn #Relearn #AQ #AdaptabilityQuotient #AI #Upskill #HRBuddy

22 - 0